Saturday, March 04, 2006
โลกาภิวัฒน์ ประชาธิปไตย แอนด์ ไทยแลนด์
คราวนี้ก็ไม่ได้เขียนเองอีกเช่นเคยครับ แต่มีรุ่นน้องไฟแรงเจ้าเก่า คันไม้คันมืออยากเขียนอะไรเช่นเคย (ได้ข่าวว่ามีประเด็นเขียนเพราะไปช่วยงานเพื่อน (สาว) นี่หว่า อิอิ) รู้สึกว่า blog ผมจะกลายเป็นอะไรที่ผมเขียนน้อยลงไปเองเรื่อยๆ ทุกทีแฮะ แบบนี้ชักจะแย่
ไม่แน่อนาคต blog ผมอาจจะเป็นประมาณว่า เอาที่ชาวบ้านเขียนมาลง แล้วกูก็เขียนคำนิยมเอาอะนะ เหอ เหอ (เล่นง่ายดีเนอะ) เอาเป็นว่าคราวหน้าฟ้าใหม่รับรองเขียนเองแน่นอนครับ ไม่นานเกินรอ
ว่าแล้วก็ฝากรุ่นน้องผมคนนี้เป็นขาประจำ blog ด้วยละกันนะ
------------------------------------------------
โลกาภิวัฒน์(Globalization) คำนี้นัยยะของมันนี่ ตามความเข้าใจของผม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะหยาบเกินไปหรือไม่ ก็น่าจะหมายถึง การที่ลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพ อันได้แก่ ภูเขา ทะเล ช่องแคบ โขดหิน ก้อนกรวด รวมไปถึงน่านฟ้า ก็ไม่อาจขวางกั้น 2 เรา(ว่าเข้าไปนั่น) ไม่สามารถปิดกั้นข่าวสาร เทคโนโลยี องค์ความรู้แขนงต่างๆ อันรวมไปถึง ค่านิยม ความเชื่อ อุดมการณ์ ตลอดจนวัฒนธรรม ที่สามารถส่งผ่าน แลกเปลี่ยน รับรู้ และกลืนกินกันได้
คงจะดีไม่น้อยถ้าหาก คำว่าโลกาภิวัฒน์สามารถ เป็นได้จริงตามนิยามของมัน เพราะโลกความเป็นจริงที่วุ่นวายในอยู่ทุกวันนั้น ล้วนเป็นผลผลิตมาจากความแบ่งเขาแบ่งเรา การปฏิเสธ หวาดกลัว หลบเลี่ยง หลีกหนี จากคนที่ไม่รู้จัก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันล้วนมีผลประโยชน์แอบแฝงหรือทับซ้อน(คำนี้ฮิตมานาน) วาระซ่อนเร้น ดังเช่นการ ที่มีเทือกเขาตะนาวศรีอยู่ กลับทำให้คนที่อยู่ในพื้นที่ข้างซ้ายและขวา ของเทือกเขานี้ ไม่สามารถมองมองกันในฐานะสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า คน (ยืมชื่อหนังสือคุณวินทร์ เลียววาริณ มาใช้) ได้อย่างสนิทใจ เหมือนกับที่มอง คนในฝั่งฟากเดียวกัน โลกาภิวัฒน์ในฐานะของเป้าหมาย(End) คงสามารถเชื่อมต่อ ประสานความไม่เข้ากัน ให้มีมากขึ้นได้
แต่หากคำว่าโลกาภิวัฒน์ไม่ได้ถูกใช้ในสถานะของเป้าหมายละ และว่าต่อไปอีกว่า มันกลับเป็นเครื่องมือ(Mean) ในการสร้างวาทกรรมเพื่ออะไรสกอย่างหนึ่ง คำถามที่ติดตามมาอย่างต่อเนื่องคือ มันจะเป็นเครื่องมือของใคร และใช้เพื่ออะไร จะเป็นไปได้ไหม หากคำนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเสนอ ส่งผ่าน รวมถึงการกลืนกิน เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้มัน อาทิเช่น ทรัพยากร ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การสร้างอุดมการณ์ เพื่อแสวงหาแนวร่วมและพันธมิตร เป็นต้น ซึ่งเราจะมาลองวิเคราะห์ในแง่ประเด็นอุดมการณ์ทางการเมืองโดยเฉพาะในบทความชิ้นนี้
ในแง่มุมประเด็นของการเมือง ผมคนต้องย้อนอดีตไปพาดพิงถึงเหตุการณ์ที่เราเรียกกันว่า สงครามเย็น(Cold War) ระหว่าง 2 ค่าย โดยมุมน้ำเงินได้แก่ สหรัฐอเมริกา ผู้เชื่อมั่นในเสรีนิยมประชาธิปไตยอำนาจเป็นของประชาชน (ที่ไม่ใช่พวกอินเดียนแดงและคนดำในยุคนั้น) ส่วนมุมแดงคือสหภาพโซเวียต ภายใต้สโลแกนความเท่าเทียมกัน ของระบอบคอมมิวนิสม์ ภายใต้รากฐานความคิดจากคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)
ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างใช้กระบวนการโลกาภิวัฒน์ ในการเผยแพร่อุดมการณ์ ความคิด และความเชื่อแก่ประเทศต่างๆ มีทั้งการให้เงินสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจ กองกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ มีการสะสมนิวเคลียร์ ก่อเกิดสงครามตัวแทนเป็นจำนวนมาก เพราะทั้ง 2 ประเทศต่างชอบที่จะเข้าแทรกแซงปักธงของตนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกันเพื่อมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีพื้นที่อาณาเขตแห่งอุดมการณ์ใหญ่เกินไป จึงต้องถ่วงดุลซะ ดังเช่นกรณีของเกาหลีเหนือ-ใต้ และสงครามเวียดนาม เป็นต้น ส่วนประเทศไทยของเราก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันเมื่อตกอยู่ในสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เมื่อประเทศรอบด้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม เขมร ลาว ล้วนชูธงแดงหลากันสลอนไปหมด แต่ไทยเราดันมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับสหรัฐอเมริกานี่ซิ แต่ก็ยังเกรงใจพี่จีนและรัสเซียอยู่ จนครั้งหนึ่งในเสี้ยวประวัติศาสตร์ไทย ไทยเคยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคคอมมิวนิสม์ด้วยเช่นกัน
จวบจนกระทั่งในที่สุดเรด แมชชีน ก็แพ้ภัยตัวเองไป อาจเป็นเพราะเนื่องด้วยตรรกกะแห่งมาร์กซิสต์มีความเป็นอุดมคติมากเกินไป เพราะคนเรามีความสามารถในการตักตวงผลประโยชน์สู่ตนเองได้ไม่เท่ากัน แต่ต้องตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของผลประโยชน์เดียวกัน ย่อมมีคนไม่พอใจเป็นแน่แท้ หรือเลนนินไม่สามารถนำมาประยุกต์ ตามตรรกะของมาร์กซิสต์ได้ดีเพียงพอ หรืออาจเป็นเพราะเงื่อนไขทั้ง 2 อย่าง แต่โดยภาพรวมแล้วการล่มสลายของสหภาพโซเวียตน่าจะมาจากการที่ระบอบคอมมิวนิสต์ที่ใช้กันอยู่ ไม่สามารถตอบสนองต่อความเป็นสัตว์เศรษฐกิจ(Homo Economicous) ของมนุษย์นั้นได้ ดีพอ ถ้าเทียบกับเสรีนิยมประชาธิปไตยที่ผนวกกับความเป็นทุนนิยมเข้าไป ซึ่งจะตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์ ที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัว โดยบางครั้งอาจจะไม่สนใจคนอื่นได้มากกว่า การล่มสลายในครั้งนี้ก็เป็นผลพวงของกระบวนการโลกาภิวัฒน์นั่นเอง เพราะ ภายหลังรัสเซียมีการเปิดประเทศมากขึ้น กระแสแห่งความคิดฝ่ายตรงข้ามจึงไหลเข้าเอ่อเข้าไป และมันทำงานได้ดีเสียด้วย วาระสุดท้ายของผู้ใช้กระบวนการแห่งโลกาภิวัตน์เป็นเครื่องมือ ก็สลายไปด้วยเครื่องมือเดียวกัน ดังที่ทุกท่านคงทราบกันแล้ว เอวังด้วยประการนี้ ดังนั้นประเทศไทยของเราจึงสามารถเลือกข้างได้ซักที การปราบปรามกวาดล้างบรรดาพวกคอมมิวนิสต์จึงรุนแรงหลังจากนั้นเป็นต้นมา(ซึ่งพอน่าจะรุนแรงไม่ต่างกับการประกาศสงครามยาเสพติดของทั่นผู้นำของเรา (ป.ล. ในสมัยนั้นอาจเป็นได้ที่ว่าข้อหาคอมมิวนิสต์อาจฟังดูร้ายแรงพอกับการติดเอดส์หรือโรคระบาดร้ายแรง จึงต้องกำจัดให้สิ้นซาก)
ต่อมาเราลองมาพิเคราะห์ที่ประเทศไทยของเราบ้างดูบ้างเพื่อจะตรวจสอบดูว่ากระบวนการโลกาภิวัฒน์นั้นมีการทำงานอย่างไร ผมมองว่าโลกาภิวัตน์ในไทยเกิดมาขึ้นตั้งแต่เรามีการซึมซับ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และวัฒนธรรมกับต่างประเทศ ซึ่งหากลงลึกในแง่มุมของการเมืองการปกครอง ไทยเราน่าจะเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้อย่างเด่นชัด ตั้งแต่สมัยตอนต้นของอาณาจักรอยุธยา เรามีการรับรูปแบบมาจากขอม รูปแบบของการปกครองยังคงผูกติดกับความเชื่อทางศาสนาอยู่อย่างแน่นแฟ้น ดังเช่นแนวคิด เรื่องกษัตริย์ เปรียบได้ดั่งสมมติเทพ รูปแบบการปกครองที่มีการจัดระบบมากขึ้นจากสมัยสุโขทัย ปริมณฑลแห่งอำนาจของกษัตริย์ มีมากขึ้นตามแนวคติ เทวราชาของพราหมณ์ พลวัตรทางการเมืองการปกครองเป็นไปในลักษณะอย่างช้าๆ ด้วยแรงหนืดจากความเชื่อ วัฒนธรรมและทัศนคติการดำรงชีพของประชาชนในสมัยนั้น การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จึงมักจะอยู่ในรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อความคล่องตัวในด้านการบริหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละยุคสมัย แต่แก่นของการปกครองยังธำรงในรูปแบบเดิมจนกระทั่งถึงในสมัยของรัชกาลที่ 5
ระบอบการเมืองการปกครองในรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากรูปแบบเดิมอย่างมาก การยกเลิกระบบการปกครองเดิมๆ เพื่อเปลี่ยนไปสู่การตั้งกระทรวงต่างๆ รวมถึงการกระจายอำนาจการปกครองในรูปแบบการแบ่งเขตมณฑล เพื่อรองรับกระแสของจักรวรรดินิยม เป็นการเปลี่ยนยุคมาสู่ทันสมัยนิยม(Modernism) ด้วยกระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่เด่นชัดมากขึ้น เพราะในรัชสมัยของพระองค์ท่าน ทรงนิยมที่จะส่งพระราชโอรส และขุนนางไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ รวมถึงตัวพระองค์ที่ทรงโปรดเสด็จประพาสดูงานที่ต่าง ประเทศ กระแสจักรวรรดินิยมเป็นตัวเร่งให้เราตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงยังคงเป็นสิ่งที่คงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง จุดเปลี่ยนที่สำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย การผละจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monarchy) สู่ระบอบประชาธิปไตย(Democracy) ในปี 2475 ที่กลุ่มทหารกลุ่มหนึ่ง มีความคิดที่ได้รับมาจากฝั่งตะวันตก ในเรื่องอุดมการณ์ของประชาธิปไตย ทำการปฏิวัติพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายแง่มุมในเหตุการณ์ครั้งนี้ การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สิ่งที่เสื่อมสลายตามไปด้วยนั่นคือชนชั้นขุนนาง การดำรงอยู่ของชนชั้นขุนนางก็เป็นสาเหตุหนึ่งของแนวคิดในการเปลี่ยนแปลง เพราะสมัยนั้นสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ มีการปลดข้าราชการเป็นจำนวนมาก ชนชั้นเจ้านายไม่โดนผลกระทบจาการปลดข้าราชการออก จึงเป็นสาเหตุให้ชนชั้นอื่นไม่พอใจ ขมวดเข้ากับความเข้มข้นขึ้นของแนวคิดอุดมการณ์ที่รับจากตะวันตก ที่เพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ
หากพูดถึงประชาธิปไตย เราคงแบ่งออกได้เป็นระบบใหญ่ๆ ออกเป็น 2 ระบบ คือ ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy) และประชาธิปไตยแบบเปิดกว้าง(Dialogic Democracy) ประชาธิปไตยแบบตัวแทน เป็นเพียงมรรควิธีในการทำให้ผลประโยชน์ของคนในสังคมได้รับการตอบสนองจากรัฐ ผ่านตัวแทนที่เขาได้กากบาทเลือกเข้าไป ส่วนประชาธิปไตยแบบเปิดกว้าง เป็นประชาธิปไตยที่เน้นการเปิดพื้นที่สาธารณะของคนในสังคม ให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง “เพื่อสร้างบทสนทนาสาธารณะ” (Public Discourse) อันนำไปสู่การแก้ปัญหาสาธารณะร่วมกัน เพื่อสร้างที่ว่างให้ความแตกต่างที่หลากหลาย ให้อยู่ร่วมกันได้ โดยทุกกลุ่มสามารถดำรงอัตลักษณ์ของตนได้อยู่
แต่อนิจจาประชาธิปไตยในไทยในตอนเริ่มแรกกลับไม่สามารถ ที่จะก้าวไปแตะ แม้กระทั่งประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้ ภายใต้การนำของคณะราษฎร ประชาธิปไตยเป็นเพียงเครื่องมือ และเป็นวาทกรรมของรัฐเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่พวกพ้อง รัฐธรรมนูญเป็นเพียงฉากเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่กลุ่ม แต่สิ่งที่เป็นกลับเป็นลักษณะการปกครองแบบเผด็จการ มีการทำรัฐประหารเพื่อสืบทอด/ล้มล้าง ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ สิทธิของความเป็นพลเมือง ในด้านของการรวมกลุ่มทางการเมือง สิทธิ์ในการเสนอวิพากษ์วิจารณ์รัฐ สิทธิ์ที่จะไม่เชื่อฟังอำนาจรัฐ ถูกจำกัดและลิดรอนจนหมดสิ้น ด้วยคำกล่าวหาอย่างน่าอดสูว้าเป็นกบฏ คิดล้มล้างประชาธิปไตย ทั้งที่ประชาธิปไตยในประเทศไทยเกิดขึ้นได้ จากการต้องการเรียกร้องสิทธิ์ที่จะไม่เชื่อฟังอำนาจรัฐภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะรากของการได้มาซึ่งประชาธิปไตยล้วนมาจากกำลังของฝ่ายทหาร ดังนั้นการดำเนินเจตนารมณ์ของประชาธิปไตยของผู้ที่ใช้ ย่อมสะท้อนถึงการได้มาเช่นกัน
แม้เวลาผ่านไปกระบวนการโลกาภิวัฒน์ก็มิเคยได้หยุดบทบาทของมัน แม้ระบบประชาธิปไตยแบบเผด็จการก็ยังคงดำรงอยู่ แต่ คราวนี้สถานการณ์สุกงอมตรงที่เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญ ที่เป็นการรวมพลังของกลุ่มนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ได้ออกมาแสดงตนเองอยากเปิดเผยในการเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริงมากกว่าที่เป็นอยู่ จนสามารถล้มล้าง ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ออกไปได้ ประชาธิปไตยของประเทศไทยก็น่าจะเดินสู่ครรลองที่ควรจะเป็นเสียที จนกระทั่งเป็นการโต้กลับของกลุ่มอำนาจเดิมในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่มีการล้อมปราบนักศึกษาที่มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ จนมีนิสิตนักศึกษาเป็นจำนวนมากต้องหนีเข้าป่าไป อำนาจกลับไปสู่มือฝ่ายทหารอีกครั้ง
เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่น่าจะแสดงถึง การหมดบทบาทของฝ่ายทหารในการเมืองไทยน่าจะเป็นเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535 ที่มีการประท้วงของประชาชนจนฝ่ายทหาร ไม่สามารถแบกรับความกดดันที่ถาโถมมาจากภาคประชาชนได้ จนพลเอกสุจินดา คราประยูร ต้องลาออก ทหารจึงหมดบทบาทจากนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบันประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ข้ามพ้นจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน รูปแบบของการแสวงหาสร้างพื้นที่ของอำนาจ เป็นไปในลักษณะของการทำอย่าไรก็ได้ให้ได้จำนวนคะแนนเสียงที่มากที่สุด(Vote Gain Maximization) เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. ที่มากที่สุด เพื่อสร้างความเบ็ดเสร็จของอำนาจในการบริหารให้มากที่สุด อุดมการณ์ของพรรคการเมืองจึงเป็นเรื่องเป้าหมายรองลงไป ถ้าเทียบกับเป้าหมายในเรื่องจำนวนที่นั่งของ ส.ส. ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของการกากบาท ซึ่งนานๆทีจะมีซักครั้ง ประชาธิปไตยยังคงเป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่ม เพียงแต่เปลี่ยนมือผู้ใช้จากฝ่ายทหาร มาสู่กลุ่มทุนในยุคนี้เท่านั้น หาใช่เป็นเป้าหมายในการเปิดกว้างยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายดังเช่นที่ผู้ริเริ่มหวังไว้
ปัญหาของประชาธิปไตยที่บิดๆเบี้ยวๆ ของประเทศไทยได้กลับมาส่งผลให้เห็นเด่นชัดในรัฐบาลชุดนี้ เมื่อ สามารถได้ที่นั่งจำนวน ส.ส. มากที่สุด เป็นประวัติการณ์ ฝ่ายบริหารสามารถสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างมาก เมือผนวกกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่มีอคติในเรื่องของขนาดพรรค(Size Bias) ที่ระบุในเรื่องระบบบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 มิฉะนั้นจะไม่ได้รับที่นั่งเลย
โดยเมื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จ การทำอะไรทุกอย่างจึงสามารถทำได้โดยง่าย การใช้อำนาจเพื่อสร้างความชอบธรรมไม่ว่าจะในการแก้กฎหมายต่างๆ การไม่รับฟังเสียงของประชาชน เพราะความเบ็ดเสร็จของอำนาจ จนทำให้เกิดเหตุการณ์ดังเช่นในตอนนี้ ประชาชนเริ่มตระหนักในบทบาทของตนในระบอบของประชาธิปไตยว่ามันเป็นมากกว่าการกากบาท การเรียกร้องประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม(Paticipatory Democracy) จึงเกิดขึ้นแต่ การเกิดขึ้นนั้นมาจากการเสียผลประโยชน์และต้องการที่จะเรียกร้องสิ่งเหล่านั้น หาใช่ประชาธิปไตยแบบเปิดกว้างที่มีพื้นที่กับทุกคน เพื่อแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ ศาสนา หรือ สิทธิต่างๆ ที่พึงมี/ได้รับ/สามารถปฏิบัติได้
70 กว่าปี ของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในไทย ด้วยกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลว่ามันมีพัฒนาการไปได้มากหรือน้อย ว่าจะนำไปเปรียบเทียบกับประเทศอะไร สำหรับผม ผมมองว่ากระบวนประชาธิปไตยของไทยเรายังคงล้าหลังเป็นอย่างมาก ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุมาจากรากฐานของมันยังไม่ได้พัฒนาการ จนตามกระบวนการได้ทัน รากฐานในที่นี้ ผมหมายถึง ประชาชน นักเลือกตั้ง และรัฐ นั้นเอง สิทธิของพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในในสายตาของคนไทยส่วนใหญ่ ยังคงแค่การเข้าคูหาแล้วกาบัตรเสีย เอ้ยเบอร์เดียวอยู่(ขอฮาหน่อย) การกาก็ขึ้นอยู่การนำเสนอนโยบายของนักเลือกตั้ง หรือไม่ก็ตามจำนวนเงินที่จ่าย นักเลือกตั้งจึงต้องมุ่งเน้นแต่ผลิตเมนูนโยบายเพื่อขอให้โดนใจประชาชนไว้ก่อน รวมถึงงบประมาณอัดฉีด ซึ่งพอนักเลือกตั้งชนะการเลือกตั้ง จนได้กลายมาเป็นรัฐบาล รัฐบาลไทยเราก็ชอบคิดว่าความเห็นที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาลล้วนผิดไปหมดอีก วันก่อนมีอาจารย์ท่านหนึ่งที่ภาควิชาผม ซึ่งท่านได้กำลังศึกษาต่ออยู่ได้กลับมาเยี่ยมเยือน ผมขอนิกเนมท่านว่า “เกจิ” ท่านถามผมว่า คุณไม่ไปประท้วงกับเขาหรือ ผมก็บอกไปว่า “ผมรู้สึกว่ามันเป็นเกมการเมืองระหว่างกัน” ตัวผมเองผมก็ไม่ชอบใจรัฐบาลชุดนี้อยู่แล้ว แต่ผมขออยู่ตรงกลางดีกว่า เผอิญเกจินี่แกค่อนไปทางฝ่ายประท้วง ตามด้วยร่ายเหตุผลที่สมควรไปประท้วงให้ผมและผองเพื่อนฟังยกใหญ่ ผมก็เห็นด้วยกับแกนะ แต่ผมขออยู่ตรงกลางดีกว่า ผมเลยคิดว่า ประชาธิปไตยในไทยนอกจากจะเป็นการกากบาทแล้ว ยังบังคับให้เราต้องเลือกข้างด้วยหรือ เราจะไม่มีที่ยืนทางการเมืองหากเราไม่สังกัดฝ่ายใดหรือ ประกอบกับการเห็นป้ายสาดโคลนระหว่างกัน เช่น “ร่วมกันทวงคืนประชาธิปไตย มาขับไล่นายก” หรือจะเป็น “พวกประท้วงล้วนก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม ทำลายประชาธิปไตย ขอเป็นกำลังใจให้นายก” นั่นสะท้อนให้เห็นถึงถึงวุฒิภาวะของสังคมไทยได้ดีในเรื่องของการจัดการความคิดเห็นที่แปลกแยกหรือแตกต่างว่าเป็นอย่างไร สังคมไทยยังอ่อนด้อยในด้านนี้มาก
ดังนั้น 70 กว่าปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยในไทยพัฒนาด้วยกระบวนการโลกภิวัฒน์ แต่การพัฒนาที่เห็นเด่นชัดที่สุดกลับเป็นแค่การข้ามพ้นจากอำนาจของฝ่ายทหารด้วยพลังของปัญญาชน มาสู่ประชาธิปไตยแบบตัวแทน เท่านั้น การเข้าสัมผัสถึงประชาธิปไตยแบบเปิดกว้างยังคงห่างไกลนัก เราลองมาดูกันดีกว่ากระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย กับกระบวนการพัฒนาทีมฟุตบอลของไทยอันไหนจะไปได้ไกลกว่ากัน เพราะอย่างน้อยทั้ง 2 ก็ได้รับผลพวงของโลกาภิวัตน์เหมือนกันไม่อย่างงั้นแล้วท่านผู้นำของเราจะไปซื้อทีมลิเวอร์พูลหรือครับ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
18 comments:
ยังไม่ได้อ่านเเค่อ่านข้อความต้นๆ เรานี่หากินง่ายนี่หว่า วันหลังเขียนให้พี่มั่งดิ ขี้เกียจวะตอนนี้
อืม
หากินง่ายมาก ไม่ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
ให้ผมเขียนให้พี่เรอะ ของตัวเองผมยังไม่เขียนเลยพี่แล้วจะเอาที่ไหนไปเขียนให้พี่ 555
เริ่มมีอาชีพใหม่ ....
ยังไม่ได้อ่านเหมือนกันครับ เหนื่อยมาก ไว้วันหลังมาอ่านแล้วกัน ... blog นี้เก็บไว้ได้ไม่เป็นไร ไม่ค่อยได้ up ... ไม่ได้ว่านะครับเนี้ย ... (ฮา)
ฝันดีครับผม
วันนี้ก็ยังไม่ได้อ่านเหมือนเดิมแหละครับ
จะเข้ามาบอกว่า ไม่ค่อยได้ไปตีแบดหล่ะครับ
จริงๆ ไม่ได้ตีมาจะสองเดือนแล้วหล่ะมั้ง ...
อยากไปตีเหมือนกันครับ
คุณ gelgloog (เออ ชื่อคุณอ่านว่าอะไรง่ะ) ไปตีเมื่อไหร่ เดี๋ยวว่างจะไปแจมด้วยครับ
จริงๆแอบข้ามไปทักทายคุณริวใน blog ของเจ้าตัวเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อธรรมเนียมอันทีงามของ กระผมจึงต้องขอ comment ตอบกลับใน blog ตัวเองด้วย 55
ชื่อใน blog อ่านว่า เกล-กลุ๊ก ครับ แต่จะเรียกผมว่านอหรือบอยก็ได้ครับตามสะดวกโยธิน
ไม่ได้ตีสองเดือนระวังมือตกหมดนะครับท่าน อิอิ
อืม เพิ่งอ่านออกก็ตอนมีคนถามนี่เเหละ
ยอมรับเลยว่า .... ไม่รู้จะออกเสียง บล๊อกนี้ ว่าอะไร ..... เหอ เหอ ขอบใจที่เฉลยเด้อ......
ปล. ว่าแต่ว่า มันมาจากอะไรละครับ....
เค้าเคยบอกว่ามันเป็นชื่อหุ่นกันดั้มอะพี่
อืม แม่นแล้วพี่ช้าง
แต่จริงๆ ไอ้กันดั้มตัวนั้นมันชื่อว่า เกลกุ๊ก (Gelgoog)นะ แต่แบบว่าถ้าตั้งเหมือนมันก็ไม่แตกต่างอะดิ 555 เลยใส่ตัวควบกล้ำไปให้เป็น เกลกลุ๊ก (gelgloog)ซะ จะได้ชื่อไม่ซ้ำกับชาวบ้านเค้า
ส่วนกันดั้มนี่ถ้าเอาแบบจริงๆ ก็ไม่ค่อยได้ติดตามเนื้อเรื่องหรอกครับ แต่ก็เคยเล่นหุ่นโมเดล มาบ้างเฉยๆ เห่อเป็นพักๆ อิอิ
กันดั้ม ก็ว่านะตั้งสมมติฐานมานานเหมอนกันว่าน่าจะเป็นแบบนั้นอ่ะ--0//จริงๆด้วยพี่บอยเค้าก็สะสมหุ่นโมเดลเหมือนกัน\0/พักหลังๆนี้รู้สึกว่าคุณพี่จะไม่คิดเองเลยนะเคอะ+555
***อ่านแล้วก็โนคอมเม้นนานาจิตตัง--แต่ที่เห็นด้วยเหมือนกันก็คงแค่ทำไมไอ้คนที่คิดที่ทำตรงข้ามนโยบายรัฐบาลถึงคิดว่าผิด**ขอนอกเรื่องเมื่อก่อนก็ติดตามอยู่หรอกก็น่าสนใจดีแต่ แต่ พักหลังๆเริ่มคิดว่ามันเป็นเรื่องระหว่างสองฝ่ายแล้วเราเกี่ยวอะไรฟะ\\0การชุมนุมทุกกรณีห้ามมีอาวุธไม่สนุกเลย
เริ่มนอกเรื่องก็เลยหยุดสนใจเอาซะเฉยๆแม้บุพการีจะบ่นกรอกหูอยู่ทุกวันนั้นก็เลิกสนใจแล้ว แม้ผลที่ออกมาประชาชนอย่างพวกเรารับไปก็ตามเถอะเหอะๆ เกมการเมือง
----------------------------------------------------------------------พี่บอยเป็นไงบ้างล่ะ--0//
สบายดีบ่\\0
\0/โชคดีนะ ตอนนี้คงสบายไปเลยสิอ่านการ์ตูนให้เปรม--เนี่ยนะถึงแม้ว่าเค้าจะไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์ตามที่เค้าหวังไว้(ตอนนี้สถาปัตย์)ก็คงไม่เลวเกินไป
ก็ยังจะติดตามอ่านอยู่ดีแหละแล้วก็ตามที่พี่แนะนำpocketbookก็หาๆมาอ่านดูบ้างแล้วเพราะจากนี้ไปเค้าคงว่างจัด--เหมือนกัน
ป.ลวันนั้นจะบอกว่าเค้ามาเม้นไปทีนึงไม่ติดแล้วเนี่ยนะเค้ามาเปิดดูบลอกพี่บอยวันนี้แทบอยากต่อยคอมให้ควั่ไปเดี่ยวนั้นถ้าครั้งนี้ไม่ติดนะ--จะไม่เม้นอีกแล้ว+555
หุ่นโมเดล ไม่ได้เล่นมาพักใหญ่ๆ มากๆแล้วนะ
ชอบเล่นมาก คิดว่าถ้าทำงานมีกะตังค์มากกว่านี้หน่อยก็จะคงจะเริ่มตามเก็บตามซื้อแหละ แต่ตอนนี้ บ่จี๊ ไม่มีเงิน สมัยนี้กันดั้มตัวนึงแพงจะตายหลักพันโน่นแน่ะ
เอาน่า ช่วงนี้ขี้เกียจเลยไม่ค่อยได้คิดเอง ไว้คราวหน้าไม่ต้องห่วง ลงมือเขียนเองแน่ๆ อิอิ
H2ครับ
หัวใจผู้ชาย
ยิ่งใหญ่
เป็นบ้า
หัวใจผู้หญิง
ลึกซึ้ง
เป็นบ้า
ป.ล.เลิกนับรอบแล้วครับ
สงสัยคงไม่มีคนมาเม้นเพิ่มแล้วแฮะ
เลยขอมาสรุปปิดท้ายหน่อย
คุณอาณารยชรโรแมนติกท่าทางจะชอบ H2 เอามากๆแฮะ สงสัยผมต้องลองหามาอ่านอีกรอบซะละ อิอิ
ไม่ได้อ่านอันนี้เนื่องจาก ขี้เกียจ แต่อยากมีส่วนร่วม
ผมรักในหลวง
สวัสดีค่ะ เข้ามาแล้วก็ได้ไรดีๆ กลับไปเหมือนกัน เน้อ
แค่นี้แหละ ฝากไว้ สามัคคี คือพลัง
ให้นิยาม คำว่า "โลกาภิวัฒน์" ได้ไหม อยากรู้ ความหมายจริงฯ ของมัน นะ
ขอบคุณมากฯ
emaile : vichang4024@gmail.com
ขอบคุณนะค่ะ
Post a Comment