Friday, March 31, 2006
เขียนเรื่องการเมือง (ก็ได้วะ)
คงจะไม่เป็นการกล่าวเกินจริงไปนัก ถ้าหากจะบอกว่าสถานการณ์การเมืองตอนนี้ช่างแสนระอุกรุ่นดีแท้ การชุมนุม ประท้วง กดดัน ขับไล่ไสส่ง สนับสนุนอุ้มชู เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป กระแสความแตกแยกต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนสร้างความตึงเครียดทางการเมืองยิ่งนัก ซึ่งสำหรับตัวผมเองคงไม่ได้มีใจโอนเอียงฝ่ายไหนเป็นพิเศษ สิ่งที่ทำอยู่ก็คือการเฝ้าดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ
ยิ่งตอนนี้มันส์มากครับ สารพัดกลุ่มที่ผลุดโผล่ขึ้นมาเป็นดอกเห็ด กลุ่มพลังเงียบ กลุ่มคนรักในหลวง ฯลฯ แต่พลังหลักแห่งความขัดแย้งที่ดำรงอยู่เห็นจะเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มไหนบ้างคงไม่ต้องสาธยายกันให้เมื่อยนะครับ
เอาล่ะจะมีกี่กลุ่มก็ช่างมัน แต่เท่าที่ตามข่าวดู ทางฝั่งผู้ชุมนุมที่สนับสนุนนายกทักษิณ มีลักษณะการชุมนุมเรียกร้องที่ค่อนข้างจะฮาร์ดไม่น้อย กล่าวคือรุกหนัก กดดัน รุนแรง ถึงกับมีนักข่าวคนหนึ่งโดนต่อยหน้าแหกไปแล้ว เอ้อ อะไรมันจะขนาดนั้นวะเนี่ย
ผมว่าสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวคงยังไม่จบง่ายๆเป็นแน่แท้ ถ้าหากสองขั้วความขัดแย้งยังคงอยู่ ต่างสร้างอัตลักษณ์และช่วงชิงวาทกรรมกันอย่างเมามันส์
ซึ่งปัญหาโลกแตกอันหนึ่งที่พบเจอในขั้วความแตกแยกทั้งสองก็คือ ทั้งสองฝ่ายล้วนอ้างสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” แต่อาจจะอ้างในบริบทที่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายรัฐบาลนี่โคตรจะชอบอ้างเลย เช่นว่า ต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ขอให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบ ในกฏ ในกติกา สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ก็คือการกระทำที่อยู่ในกติกาของประชาธิปไตยทุกอย่าง
แต่สำหรับผมกลับมองว่า มันเป็นการอ้างความชอบธรรมที่ไร้แก่นสารเสียจริงๆ มันก็แหง แหละว่าทุกอย่างมันตามกฏ กติกา แต่ถามจริงเหอะ กฎกติกาทุกอย่างมันล้วนให้ประโยชน์กับพวกเอ็งนี่หว่า ถ้ากฏ กติกามันสามารถสร้างความชอบธรรมให้คนส่วนใหญ่ได้ มันก็ไม่ต้องมีการมาประท้วงเย้วๆ แบบนี้หรอก ผมว่าถ้ากฏ กติกา มันพูดได้ มันก็คงจะบอกว่า “พวกมึง อย่าอ้างกูเยอะนักเลย เล่นอ้างซะกูจนจะหมดขลังอยู่แล้ว”
รู้สึกว่าฝั่งรัฐบาลจะครอบครองสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยเป็นสิทธ์ขาดเหลือเกิน โดยหารู้ไม่ว่า (หรือรู้ก็ทำเนียนเป็นไม่รู้) การชุมนุม หรือการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ถือได้ว่าเป็นครรลองและกลไกหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย ประธิปไตยไม่ใช่แค่เรื่องของการเลือกตั้งนะครับ แน่นอนว่าการยอมรับเสียงส่วนใหญ่ถือเป็นสาระหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การยอมรับความแตกต่างหลากหลายต่างหากล่ะที่เป็นแก่นสารของประชาธิปไตยเชิงลึกโดยแท้จริง ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของพวกเขาควรจะก้าวข้ามจากกรอบคิดที่ยึดติดกับกระบวนการทางรัฐสภาเพียงอย่างเดียวได้แล้ว
มาถึงอีกฝ่ายหนึ่งบ้าง ซึ่งก็มีจุดยืนที่แข็งขันนั่นก็คือต้องการให้ทักษิณ ออกไปให้ได้ ซึ่งตรงนี้ผมโคตรจะเห็นด้วยเลยครับ แต่ผมว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาและตระหนักเอาไว้อยู่ในทุกขณะจิตก็คือ แม้ว่าทักษิณจะออกจากตำแหน่งไปใช่ว่าปัญหาสังคมทั้งหมดจะมลายหายไปในพริบตา แต่ผมก็คิดว่าถ้าทักษิณยอมออกจากตำแหน่งไป การกระทำตรงนี้คงมีคุณูปการให้กับประเทศชาติไม่น้อยเลยทีเดียว (และอาจจะมีสิ่งดีๆ สิ่งเดียวทีทักษิณพอจะทำให้กับประเทศชาติได้)
การชุมนุมขับไล่ทักษิณนี่ผมเห็นด้วยครับ และจริงๆมันก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้หากอยู่บนครรลองของตัวบทกฎหมายและรัฐธรรมนูญ (ดังที่บอกไปแล้วเมื่อครู่) แต่สิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยก็คือการอ้างมาตรา 7 แต่งตั้งนายกฯพระราชทานขึ้นมา ซึ่งเหตุผลก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่าไม่อยากให้สถาบันกษัตริย์ถูกดึงลงมาสู่เกมการเมืองครับ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตามที สำหรับผมมีความคิดว่าการที่สถาบันกษัตริย์สามารถธำรงค์สถานภาพได้นั้นก็เนื่องด้วยว่าสถาบันดังกล่าวเป็นสิ่งที่ข้ามพ้นและอยู่เหนือการเมืองไปแล้ว มันคงจะไม่งามซักเท่าไรนักถ้าหากดึงเอาสถาบันกษัตริย์มาสู่สนามวาทกรรม มาสู่เกมแห่งอำนาจแล้ว ผมเกรงว่าจะเป็นการทำให้สถาบันดังกล่าวคอนแคลนได้
ผมก็เข้าใจเจตนารมณ์ของฝ่ายที่เสนอข้อเรียกร้องดังกล่าว ที่ต้องการให้สังคมไทยดีขึ้น อันนี้ผมรับทราบและกำซาบไว้ในห้วงใจน้อยๆ (แต่ตัวใหญ่ๆ) ครับ แต่การนำเสนอนายกฯพระราชทานในความคิดผมนั้นอาจเป็นสิ่งที่ง่ายเกินไปหน่อย แม้นว่ามันอาจจะดูเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันก็ตามที แต่ถ้าดูกันยาวๆแล้ว ผมคิดว่ามันน่าจะมีอะไรมากกว่านั้นนะ อย่าลืมนะครับว่าทักษิณเองก็เป็นผลิตผลจากความมักง่ายเช่นกัน
“ไม่เลือกเค้าแล้วจะเลือกใครวะ ไม่เห็นจะมีใครดีเท่ามันเลย ไม่ชอบก็กาๆเลือกๆไปเหอะ”
“ทักษิณโกง?? ใครๆก็โกงกันทั้งนั้นแหละ แต่เค้าโกงแล้วดีนะ ทำโน่นทำนี่ให้ประเทศชาติบ้านเมืองพัฒนามันก็ดีกว่าโกงแล้วไม่ทำอะไรเลยนะเว้ย”
………………………………
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
14 comments:
เรียนการเมือง เขียนเรื่องการเมือง เเต่อย่าคิดเเบบการเมือง ทำตัวจัญไรอย่างการเมืองเป็นพอ
นะ นี่ไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดเหมือนกัน ถึงแม้จะอยู่บ้านเกิดเดียวกะทักษิณก็ตาม แล้วก้อเคยเป็นพวกผ้าผูกหัวสีแดง --เมื่อวานเอามือถือไปซ่อมประท้วงบ้าบอรถติดเป็นบ้า ไอ้จำลอง ไอ้สนธิ โอววววววพวกผู้ใหญ่เป็นเอามาก--'ดูท่าจะยากนะถ้าจะให้มันสงบลงเหมือนเด็กหงอโดนผู้ใหญ่ดุแต่นี่ผู้ใหญ่เป็นเองก็นะ no commentก้คอยดูนะลุงแม้วออกไปก็คงไม่ดีกว่านี้ร้อกเหอๆพอเหอๆ**
พี่ช้าง
ขอขอบคุณที่แวะเข้ามาเตือนสติ
น้องนุ่น
นี่ขนาด no comment ยังพิมล่อมาซะสองบรรทัดเลยนะเนี่ย ถ้ามี comment จะขนาดไหนน้อ 555
เออ หายไปนาน กลับมาทีก็เครียดอีกแล้วนะครับ ...
หวังว่าหลังสองเมษา เราคงหายเครียดกันนะครับ ...
สบายดีมั๊ยครับผม ...
กลัวหลังสองเมษามันจะเครียดหนักกว่าเดิมซิคร้าบคุณริว ตอนนี้ผมสบายดีครับ ยังอยู่ในโหมดขี้เกียจเช่นเดิม อิอิ
เรื่องการเมืองเนี่ย..
ดูมาก อ่านมาก ฟังมาก แล้วจะเครียดนะครับ
สองสามวันที่แล้วนัทสิมาเหมือนจะเป็นโรค PSS (Political Stress Syndrome)
ยิ่งตอนเห็นการป่วนการปราศรัยของประชาธิปัตย์ที่เจียงใหม่แล้วใจสั่นพิกล..
ไม่ใช่ว่าจะเป็นพลพรรครักประชาธิปัตย์หรอกนะครับ
แต่ภาพบางภาพ ฉากบางฉาก มันชวนให้นึกถึงวันฆ่านกพิราบที่ธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519
ขอไว้อาลัยให้กับโครงสร้างของความรุนแรงที่สถิตย์ในสังคมไทยครับ
ผลลัพธ์ของความรุนแรง แม้ว่ามันอาจจะนำมาสู่จุ่ดมุ่งหมาย แต่ผมคิดว่ามันคงไม่โสภาซักเท่าไรนัก
คงไม่มีแม่ของลูกคนใดอยากให้ลูกของตนตกเป็นเหยื่อแห่งความรุนแรงทั้งปวง
ขอไว้อาลัยเช่นกัน.......
พี่ครับ ผมไม่เคยเถียงเลย ว่าการชุมนุมเป็นสิ่งที่ผิด
แต่การสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น พี่ว่าเป็นการล่วงละเมิดสิทธิไหมครับ
ถ้าวันหนึ่ง เราเอาคนมาสัก 1แสนคน มาไล่คนที่ถูกเลือกมาด้วยเสียงถึง 19 ล้านเสียง
ไล่ได้ครับ แต่ทำไมไม่ทำตามกระบวนการ
แล้วถวายฎีกาไปแล้ว พระองค์ไม่ตอบฎีกา แปลว่าอะไรครับ
พี่ลองสังเกตุดู คนชุมนุมที่เป็นแกนนำ ล้วนขัดแย้งผลประโยชน์ส่วนตัวกันทั้งนั้น
สนธิ พี่ดูการกระทำกับคำพูด แตกต่างกันไหมครับพี่
เราจะสู้เพื่อในหลวง ดูท่าอ่านฎีกาสิครับ
เราจะสู้เพื่อในหลวง แต่วันนี้กลับพูดว่า
สื่ออย่างผู้จัดการก็เสนอข่าวแง่เดียว นี่หรือครับจรรยาบรรณของสื่อ
ระบอบทักษิณ ใช่ว่าจะเป็นระบอบที่แย่เสมอไปนะครับ
อย่างที่ทักษิณว่าครับพี่ ดูแต่หนี้ที่เพิ่มขึ้น แต่ดูรายได้เฉลี่ยด้วยสิครับ
ลองไปทำวิจัยดูนะครับ ผมว่าน่าสนใจมากเรื่องหัวข้อนี้ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์การเมืองอย่างเราๆ
คนไทยล้วนอยู่ใต้ประชาธิปไตยผืนฟ้าดียวกันครับพี่
ปชป.เป็นรัฐบาลมากี่ยุคกี่สมัย บ้านเมืองพัฒนาอะไร
นโยบายวิเทศธนกิจ เปรัยบเสมือนเรือด่วนพาไทยไปวิกฤต 40
จำได้ไหมครับพี่ ทุกวันนี้ผมขอถาม ว่าปชป.มีประสิทธิภาพอะไรครับในการบริหาร
นโยบายดีๆก็ไม่มี
ทำมาก ถูกด่ามาก
ทำน้อย ถูกด่าน้อย
ทำมาก ถูกบ้างผิดบ้าง ลองๆกันไป แต่ก็ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศ
พี่ครับ คน แสนคน เขาฉลาดกว่าคนอื่นๆมากหรือครับ
เขาถึงใช้อำนาจไปตัดสินแทนคนทั้งประเทศ
การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ถูกครับ
พี่ลองไปดูประวัติศาสตร์การเมืองสมัยท่านเปรมครับ
ว่านักวิชาการ NGO ด่าทั้งนั้น
สุดท้าย ท่านก็ได้เป็นประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ทำไมครับพี่???
วันนี้ ทักษิณยอมเว้นวรรคทางการเมืองแล้วครับ
รอเพียงกระบวนการพิสูจน์ความบริสุทธิ์
คอยดูกันต่อไปครับ
ถ้ามันผิด ผมคนนึงล่ะ ไม่ยอมปล่อยมันไปง่ายๆแน่
แต่ถ้ามันถูก . . . คอยดูต่อไปครับ
คนไทยตัวเลือกน้อยเหลือเกินครับพี่
“ไม่เลือกเค้าแล้วจะเลือกใครวะ ไม่เห็นจะมีใครดีเท่ามันเลย ไม่ชอบก็กาๆเลือกๆไปเหอะ”
“ทักษิณโกง?? ใครๆก็โกงกันทั้งนั้นแหละ แต่เค้าโกงแล้วดีนะ ทำโน่นทำนี่ให้ประเทศชาติบ้านเมืองพัฒนามันก็ดีกว่าโกงแล้วไม่ทำอะไรเลยนะเว้ย
ไม่มักง่ายครับพี่ . . . ใครดีเท่ามันล่ะ พี่ว่า อภิสิทธิ์น่ะหรือ . . . ไม่มีประสิทธิภาพเลยครับ
เค้าโกงรึป่าวก็ยังไม่รู้ อย่าด่วนสรุปครับ. . .
โอ้ มาคราวนี้ตอบยาวดีเหลือเกิน ยินดี ยินดี
ใช่ครับ การเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นสิ่งที่เราทำได้ และควรทำด้วยนะ ถ้าหากเราคิดว่าเราไม่ได้รับความชอบธรรมจากอำนาจที่ดำรงอยู่ แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวต้องอยู่ในกรอบกติกา.....
ส่วนสื่อนี่ไม่อยากจะไปพูดถึงอย่างแรง ในความคิดพี่นะ เชือว่าสื่อที่ดีมีครับ แต่ก็มีบางจำพวกที่หากินกับหลังคนเหมือนกัน ยิ่งทุกวันนี้สื่อมันบริโภคเราหรือเราบริโภคมันวะเนี่ย มันเล้นกระอัก ทะลักเกินขนาดจริงๆ แต่ที่สำคัญก็คือ สื่อเองก็แสบเหมือนกัน ไม่ได้เสนอสาร แต่ที่มันต้องการเสนอก็คือตัว "สื่อ" เองน่ะแหละ ดังนั้นแล้วเราเองก็อย่าปล่อยให้ทีวีดูเราครับ เราต้องเป็นคนดูทีวีเสียเอง
สุดท้ายแล้วเป็นเรื่องของเราที่จะต้องใช้วิจารณญาณแหละครับ เพราะสื่อทุกวันนี้มันครอบงำเราอยู่ทุกขณะจิต จะหนีให้พ้นก็ต้องไปป่าลูกเดียว เมื่อหนีไม่พ้นวิธีการเดียวก็คือการกรอง กรองด้วยวิจารณญาณอันน้อยนิดของพวกเรานั้นแล
ทุกอย่างมันก็เหมือนเหรียญครับ มีสองด้าน คงไม่มีอะไรเบ็ดเสร็จหมดจดไปเสียทุกอย่าง ระบอบทักษิณ ดีมั๊ย คงไม่ดีหมดและเลวไปเสียหมด แน่นอนพี่ชื่นชมในฐานะความเป็นนักบริหารที่เก่งกาจของเค้านะ คิดไวทำไว สร้างนโยบายที่เป็นรูปธรรม มีนวัตกรรมใหม่ๆ (มั๊ง??)ที่ทำให้เข้าถึงคนหมู่มากโดยเฉพาะรากหญ้า (ไม่อยากใช้คำนี้จริงๆผับพ่า เหมือนไปยัดเยียดให้เค้าเป็นอะไรซักอย่าง ช่วยคิดหาคำอื่นแทนที) ส่วนเรื่องกองทุนหมู่บ้าน หนี้สินอะไรนี่ อยากจะอ่านงานวิจัยเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนกัน แต่เท่าที่เคยฟังจาก อ.อัทธ์ ของหอการค้าที่ลงไปดูพบว่าเลขหนี้มันเพิ่มจริงๆ แล้วอีกตัวทีเพิ่มขึ้นคือ consumption อืมๆ น่าคิดๆ ยังไม่พอ ทักษิณบอกแล้วว่าเราต้องยึดเศรษฐกิจพอเพียง ชาวบ้านเข้มแข็งต้องเป็นหนี้ก่อนเน้อ ต้องมีเครดิต ขยายเครดิต เย้วๆ เศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับพี่คิดว่า บางอย่างมันก็จะสวนทางกันไป ไม่ใช่จะบอกว่าไม่ต้องทำหอกอะไร ปล่อยให้ชาวบ้านอยู่ตามยถากรรมนะ แต่เมื่อยัดเยียดระบบตลาดไปให้เค้า เราต้องสอนเค้าเลยหละว่า มันเป็นระบบที่มีความเสี่ยง มีคนชนะ ก็ต้องมีคนแพ้ และพี่เชื่อว่า เกมนี้มันต้องมีคนแพ้ แหง แหง
ถามว่าน่าไปทำวิจัยมั๊ยครับ ตอบเลยว่าน่าสนใจเหมือนกัน แต่ถ้าจะลงไปจริงๆ คงไม่ดูในแง่ตัวเลขบัญชีรายรับรายได้หรอกครับ พี่คิดว่าถ้าจะมองให้จั๋งหนับจริงๆ น่าจะมองไปถึงว่าตัวนโยบายมันได้สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม ความนึกคิด อะไรใหม่ๆ ให้กับพวกเขาเหล่านั้นบ้าง และมันกำลังจะไปในทิศทางใด (แน่นอนว่าเป็นคำถามที่ลอยอยู่ในอากาศ 555)
แล้วถ้าถามพี่ว่าความเจริญคืออะไร?? เชื่อเลยว่าคำตอบที่ได้จากพี่คงต่างจากทักษิณซึ่งเป็นพวก modernize สุดขั้ว มองความเจริญก้าวหน้าเป็นแต่เรื่องของการค้าขาย ขยายความเป็นอุตสาหกรรม ยัดเยียดระบบตลาดให้คนทุกกลุ่มเหล่า ดูแค่ GDP (ชอบอ้างประจำ)
สำหรับพี่แล้วการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี่ก็สะท้อนความเจริญก้าวหน้าแบบหนึ่งเหมือนกัน (ถ้าหากมันไม่จบด้วยความรุนแรง)ในแบบที่ว่าภาคประชาชนของเรามีความเข้มแข็งขึ้น มีศักยภาพในการร่วมมือการเรียกร้องสิทธิบางประการที่เค้าต้องการ มันเป็นไปไม่ได้ที่คนทุกคนที่ไม่ชอบทักษิณจะมารวมตัวกันได้หรอกครับ แต่ถ้าหากว่าตัวเลขมันเยอะและเป็นจริงก็ถือได้ว่าภาคประชาชนของเราเกิดวิวัฒนาการใหม่ๆขึ้นมาแล้ว
คนแสนคนไม่ได้ฉลาดกว่าคนอื่นหรอกครับ แต่การเคลื่อนไหวขนาดนี้พี่คิดว่ามันก็ไม่น่าโดนเมิน อยากจะให้มองในเชิงคุณภาพ (ไม่ได้หมายความว่าคนแสนคนคุณภาพดีกว่าที่เหลือนะ แต่ให้มองในฐานะที่เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวหนึ่งที่ไม่ควรโดนเมินแม้นว่าจำนวนจะน้อยกว่าทั้งประเทศ หรืออะไรก็ตามแต่)น่าจะให้เครดิตเค้าซะหน่อยแหละน่า มันก็เท่านั้น และแน่นอน พี่ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่งี่เง่าบางอย่างของผู้ชุมนุมอยู่แล้ว และที่สำคัญ ถ้าไม่มีกลุ่มดังกล่าว เรื่องราวคงไม่ลุกลามเมามันส์ถึงขนาดนี้ มาจนถึงขนาดที่เคลียร์ด่านแรกได้แล้ว (ทักษิณยอมถอย)ซึ่งสำหรับพี่ก็คงต้องยอมรับไว้บ้างว่ากลุ่มคนเหล่านั้นรวมถึงตัวหัวโจกก็มีคุณูปการอยู่บ้างเหมือนกัน
ต่อไปก็ต้องดูท่าทีของกลุ่มต่างๆไปแหละครับว่า จะเอาเยี่ยงไร คิดว่าทักษิณยอมถอยให้ขนาดนี้ก็โอเคขึ้นแล้วนะ ถ้าหากมางี่เง่าเซ้าซี้ได้คืบจะเอาศอก มันคงจะไม่แมนเอาเล้ย อิอิ
ส่วนเรื่องป๋าเปรมนี่ เอ่อ ความรู้น้อยครับ ทำไมเป็นรัฐบุรุษ ถ้าจะตอบแบบข้างๆคูๆ ก็คงเป็นเพราะว่าท่านเองก็เป็นหนึ่งในกลจักรสำคัญที่สร้างวิวัฒนาการให้ระบอบประชาธิปไตยมั๊งครับ โดยสละตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและยอมให้มีนายกจากการเลือกตั้ง
ส่วน ปชป. อะไรนั่น ถ้าทำไม่ดีพี่ก็ด่าครับ ตอน ศก. แม่งยวบยาบ ก็ยังจะตาม IMF หดการกระตุ้นจากภาครัฐ ยิ่งเหมือนซ้ำให้มันไปกันใหญ่ โอเคแม้ว่าจะมี underlying theory อยู่ที่ว่าตอนนั้น ศก. เรามันเกินดุลยภาพไปมากแล้ว จำต้องยอมหดตัวเพื่อให้กลับมาสู่จุดที่พอเหมาะ พอควร อืมๆ ตอนนั้นอยู่ ป.ตรี เพื่อนพรีเซ้นต์เรื่องนี้พอดี ฟังไป ก็นะ มีทฤษฎีหนุนหลังอยู่ แต่แม่งก็ไม่น่าทำแบบนี้เล้ย ของพวกนี้ก็ นานาจิตตังนะน้อง
เมืองไทยตัวเลือกน้อยเหลือเกิน....อันนี้เห็นด้วยครับ แต่สำหรับพี่เอง คงไม่ได้เริ่มที่จะไปตั้งคำถามว่า จะเอาผู้นำแบบไหน แต่เราน่าจะตั้งคำถามไปที่สังคมว่าเราต้องการสังคมแบบไหนและเราต้องทำตัวอย่างไรคงจะดีกว่า ตราบใดที่เราเห็นว่าไม่มีกลุ่มตัวแทนไหนเหมาะสมเราก็มีสิทธิ์ไม่เลือกจนกว่าชีวาจะหาไม่ครับ
และขอย้ำอีกว่า การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ถูกครับ แต่ประชาธิปไตยมันไม่ใช่แค่เรื่องของการเลือกตั้งแต่เพียงอย่างเดียว การเลือกตั้งพี่คิดว่าเป็นหนึ่งในดัชนีหลายๆตัวที่ไว้ชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยครับ
ส่วนทักษิณจะผิดหรือถูก พี่ก็อยากให้มีกระบวนการซักฟอกเหมือนกันครับ เอาให้จั๋งๆในเชิงกฏหมายไปเลย เพราะทุกวันนี้มันจะมาในแนวการตัดสินจากมุมมองทางจริยธรรมทีมาตรวัดไม่ตายตัวเท่าใดนัก (แต่พี่ก็ชอบใช้55)
เอาล่ะ อันนี้ต้องขอยอมรับว่าที่พิมไปใน blog มันก็พลั้งปากไป เหมือนไม่ให้เครดิตคนที่เลือกทักษิณ อะนะ ยอมรับโดยดุษฎี แต่สำหรับพี่เชื่อว่า การเลือกหรือกามันคงมีอะไรมากกว่านั้น ไม่เหมือนการเลือกซื้อของอะ ถ้ารู้ว่าแม่งไม่ดีทั้งคู่ก็ไม่ต้องเลือกแม่งทั้งคู่ดิ แต่ที่พี่บอกว่าเป็นความมักง่าย คิดว่าน่าจะเน้นในกรณีที่บางคนคิดแบบเนี้ย แล้วตอนหลังมาตะโกนเย้วๆ ไล่มันทีหลัง (พวกเพื่อนๆพี่ก็เป็นแบบนี้หลายคน เหอ เหอ)แต่อย่างไรอันนี้ขอยอมรับว่าเป็นความมันส์ แป้นพิมพ์มันพาไป
เค้าโกงมั๊ยอย่าด่วนสรุป โอเค ไม่ด่วนครับ แต่ขอให้มีกระบวนการซักฟอกเกิดขึ้นจริงก่อนคงจะได้เห็นอะไรมากกว่านี้ แต่สำหรับพี่เชื่อว่า การโกงหรือการคอรัปชั่น ไม่ได้หมายความว่าผิดกฏหมายแต่อย่างเดียวนะ คิดว่าความหมายของมันน่าจะอยู่ ไม่ว่ามันจะผิดกฏหมายหรือไม่ เราไม่รู้หละ แต่แน่นอนมันผิดมาตรวัดทางจริยธรรมแหงๆ ซึ่งตรงนี้ โอเคมันค่อนข้างเป็นอะไรที่หาเส้นเขตแดนยาก แต่อย่างน้อยที่สุดเพื่อเชื่อว่า อย่างเราๆท่านๆ คงมีมาตรวัดทางจริธรรม และวิจารณญาณอย่างพอเพียงแน่นอน
นี่เป็นการตอบกลับที่ยาวที่สุดในสหัสวรรษนี้เลยนะเนี่ย ยินดีมากนะน้องอูที่เราได้สนทนากัน ถ้าหากมีอะไรคุยก็นก็ msn ได้เล้ย หรือไม่คุยกันผ่าน blog ก็ได้
ยินดี ยินดี
ทักษิณแม่ง ฮาร์ดฉิบ
ใช้ได้ไหม ความหมายนี้?
โอ้ว
พี่เล็ก
ตอบได้ฮาร์ดมาก
ใช้คำนั้นและ ได้แน่นอน 55555
พวกผมก็ใช้ใช้กลุ่มเพื่อนๆบ่อยนะ ไม่รู้แม่งจะฮาร์ดอะไรนักหนา
สิ่งที่ระบอบทักษิณครอบงำสังคมไทยอย่างหนึ่งคือ การใช้จุดขาย ในลักษณะภาพลักษณ์เชิงเปรียบเทียบ นั่นคือ จะพยายามเปรียบเทียบนำเอาจุดเด่น ผลงาน ต่างๆ เกทับบลัฟเเรก ข่มขวัญ พรรคอื่นตลอดเวลา ผลของการกระทำอย่างนี้ ส่งผลให้วัฒนธรรมประชาธิปไตยเกิดความบิดเบี้ยวในความคิดของผู้ถูกครอบงำ ตรงที่เราต้องมีข้าง ผมสังเกตบ่อยมาก คนที่เชียร์ทักษิณ เมื่อเจอคนที่ไม่ชอบ เขาจะหงุดหงิดเมื่องเจอคนเหล่านั้นมากกว่าในทางตรงกันข้าม ที่คนไม่ชอบเจอคนชอบ เพราะระบบอบทักษิณก่อให้เกิดตรรกะที่ว่า ใครจะมาดีกว่าทักษิณวะ มึงอยากได้นายกขื่อบัญญัติเหรอ(ในสมัยก่อน) อภิสิทธิ์จะเป็นงานหรอ(สมัยนี้) ทั้งที่คนที่ไม่ชอบทักษิณ อาจจะไม่ชอบพรรคอื่นก็ได้ ถูกของพี่นอครับระบบทักษิณก่อร่างสร้างตัวจากความมักง่ายจริงๆ
“ทักษิณโกง?? ใครๆก็โกงกันทั้งนั้นแหละ แต่เค้าโกงแล้วดีนะ ทำโน่นทำนี่ให้ประเทศชาติบ้านเมืองพัฒนามันก็ดีกว่าโกงแล้วไม่ทำอะไรเลยนะเว้ย”
คนที่บ้านเรา เค้าก็คิดกันแบบนี้อ่ะ แต่เราคิดต่างจากเค้า คือ เราคิดว่า คนที่จะมาทำหน้าที่ตรงนี้ควรจะเป็นคนที่ทำเพื่อประเทศชาติ และประชาชน จริงๆ ถ้าขืน มีแต่คนแบบนี้ (หาประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่)เราก็รู้สึกรับไม่ได้ (คือไม่อยากได้คนแบบนี้อ่ะนะ) แต่เราก็ไม่สามารถอธิบายได้ แม่ชอบถามเราว่า ถ้าไม่เอาทักษิณ แล้วจะแกจะเอาใครล่ะ มันคล้ายๆ กับคำพูดข้างต้นไงม่ะรุ้ (โดนจริงๆ)
ถ้ามีโอกาส ช่วยชี้แนะ ด้วยนะ ว่าเราควรจะพูดอย่างไงให้คนอื่นเข้าใจ เอาแบบที่เป็นไปได้จริงๆด้วยนะ ไม่ใช่พูดเป็นทฤษฎีเฉยๆ
การพัฒนาประเทศไทยเราเป็นไปด้วยความบิดเบี้ยว ที่ใช้ตลาดนำ เน้นภาคอุตสาหกรรม งบประมาณทั้งหมดจึงถูกดูดมาที่ เมืองหลวงทั้งหมด ขณะที่เมืองชายขอบเเทบตายซากเลยก็ว่าได้ ซึ่งมันก็เปนอย่างนี้มานาน จนเเทบเป็นวัฒนธรรม จนเกือบหรือเป็นการเลือกปฏิบัติ การที่ทักษิณนำเสนอนโยบายประชานิยมสู่ชนชั้นรากหญ้าจึงได้รับเสียงตอบรับกันเกียวกราว จนกลายเป็นอัศวินม้าขาวในดวงใจใครต่อใคร
ผู้นำที่ดีของคนรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำไปวันๆ ต้องหวังพึ่งพิงสวัสดิการของรัฐ นั่นคือ ทำให้พวกเขามีกิน ดังนโยบายต่างๆที่ได้รับ
ขณะที่ชนชั้นกลางอย่างๆเรา ที่หลุดพ้นปัญหาเรื่องปากท้องก็เริ่มมองด้านเศรษฐกิจ เปนหลัก จนเเทบไม่มองด้านอื่นซึ่งล้วนเป้นปัจจัยให้เกิดเป็นสังคมทั้งสิ้น ซึ่งทักษิณก็สามารถตอบโจทย์ข้อนี้อย่างเข้าเป้า
เพียงเเต่คนที่เหนือขึ้นมาเขาก็จะมองข้ามพ้นขึ้นมาอีกในเเง่ถึงความมีจริยธรรม ความโปร่งใส ด้วย ซึ่งหามีไม่ในตัวท่านผู้นำ
กระเเสของทักษิณจึงมีทั้งรักเเละชัง ซึ่งจะเปลี่ยนเเนวคิดคนก็คงยาก เพราะหากเราๆ ต้องตกไปอยู่ในสถานะที่ต้องพึ่งพาอำนาจเเห่งสวัสดิการรัฐ หาเช้ากินคำไปวันๆ ทักษิณอาจเป็นคนที่เรารักยิ่ง ยิ่งกว่าใคร
Post a Comment