Wednesday, September 06, 2006

ว่าด้วยเรื่องการจัดอันดับมหา'ลัยไทย

ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ สำหรับการจัดอันดับ (ranking) มหาวิทยาลัยไทย โดยสภาคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ภายใต้แกนนำของนายภาวิช ทองโรจน์ ซึ่งหลังจากที่ประกาศผลออกมาก็มีต้องเสียงตอบรับ เสียงก่นด่า สนับสนุน เห็นด้วยไม่เห็นด้วยกันเต็มไปหมด เอาเป็นว่าใครจะอยู่กลุ่มไหน ได้ที่เท่าไหร่ เชิญทัศนากันได้ตามสะดวกเลยครับ ตาม link ที่ผมให้ไว้ได้เลยนะครับ

เชื่อว่าผลการศึกษาอาจจะมีผิดเพี้ยนไปจากมโนสำนึกโดยทั่วไปอยู่บ้าง อีกทั้งบางมหาวิทยาลัยก็ไม่เห็นด้วยกับการจัดอันดับดังกล่าว จึงไม่ได้เข้าไปกรอกข้อมูลให้กับทาง สกอ. อย่างไรก็ตามเราคงต้องยอมรับว่าผลการจัดอันดับของบางมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยที่ติดกลุ่มท้ายๆ มันก็สะท้อนถึงสถานภาพของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ได้ดีพอควร (ไม่อยากจะเอ่ยนามจริงๆ เดี๋ยวจะพาลเกิดความขัดแย้งไปอีกเปล่าๆปลี้ๆ)

สำหรับเรื่องที่ใครจะอยู่หัวตารางนี่ผมว่าคงเถียงกันยาวล่ะนะ เพราะผลที่ออกมาเชื่อว่าคงสร้างความกินแหนงแคลงใจต่อสถาบันอันเป็นที่รักของใครหลายๆคน ทำให้เกิดเสียงโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระทู้ต่างๆ นี่เถียงกันเป็นไฟเชียวล่ะ แต่ละสถาบันก็ต่างงัดเอาข้อดี ข้อเด่น ข้อเก่งมางัด แงะ กันมันส์หยดมาก ตรงนี้ผมเองก็ขี้เกียจเข้าไปร่วมเถียงด้วยอีกนั่นแล (รู้สึกว่าจะไม่ยุ่งอะไรกับเค้าซักอย่างแล้วจะเขียนเรื่องนี้ทำไมวะ??)

แต่อันดับท้ายตารางนี่ซิผมว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะไม่เห็นจะมีนัยยะใดๆสำหรับมหาวิทยาลัยที่ติดกลุ่มท้ายตารางเลยแม้แต่น้อย จัดดับเสร็จ แล้วก็จบกัน แล้วแบบนี้คุณยิ่งไม่ทำให้มหาวิทยาลัยที่อยู่อันดับท้ายๆ ไร้ที่ยืนมากขึ้นไปอีกหรือ??

แม้ว่าการจัดอันดับจะมีเรื่องน่ากังขาในหลายๆประเด็น (ลองตาม
link นี้ไปนะครับ ถ้าเป็นอย่างที่ว่าจริงๆ ก็น่าเขกกบาลคนทำซักสามเป้ก รับไม่ได้จริงๆ) แต่เราคงปฏิเสธไม่ได้หรอกนะครับว่า มาตรฐานการเรียนการสอนหรือการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยทุกที่มันไม่เท่ากัน การที่จะบอกว่าทุกที่ล้วนมีมาตรฐานเดียวกัน ผมว่ามันเหมือนนิทานโกหก เพื่อทำให้ตัวเองสบายใจมากกว่า เพราะในความเป็นจริงแล้ว เราก็รู้อยู่แก่ใจกันดีว่าแต่ละแห่งแต่ละที่มันเป็นอย่างไร


ผมว่าเสียงต่อต้านจากการจัดอันดับในหลายๆที่มักจะเป็นไปในทางการปกป้องหน้าตาของตัวเองเสียมากกว่า ส่วนเรื่องของการที่จะไปปรับปรุงในแง่วิธีวิทยา (methodoly) ของการจัดอันดับนี่ไม่ยักจะมีใครพูดถึง ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่เราจะได้ย้อนกลับมาดูตัวเองผ่านการจัดอันดับ (ที่น่าเชื่อถือได้) เพราะโจทย์สำคัญที่เราเผชิญอยู่ก็คือว่า มาตรฐานการศึกษาของเรานั้นมันไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น (ไม่ต้องไปเทียบกับใครที่ไหนหรอก มันรู้ๆกันอยู่)

ดังนั้นแล้วการวัดผลจึงถือเป็นดัชนีอันสำคัญข้อหนึ่ง ที่จะมาช่วยเราในจุดนี้ได้ แน่นอนว่าจะต้องทำให้มันเป็นวาระระดับชาติอย่างจริงจังไปเลย ไม่เอาแบบทีเล่นทีจริงแบบนี้นะ สร้างกรอบ และมีกระบวนการศึกษาหาคำตอบที่น่าเชื่อถือ และพร้อมเปิดเผยผลงานให้สาธารณะชนรับทราบ ไม่ใช่อยู่ๆก็มาบอกอันดับโดยไร้ที่ไปที่มา

สิ่งที่ผมอยากจะเสนอคือนอกจากจะวัดในแง่การเรียนการสอน และการวิจัยในเชิงทั่วไปแล้ว สิ่งที่ควรจะลงไปดูก็คือวัตถุประสงค์ย่อยของแต่ละมหาวิทยาลัย (หรือจะเรียกเท่ๆว่าพันธกิจก็ไม่น่าเกลียด) ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยสามารถที่จะบรรลุตรงจุดนั้นได้หรือไม่ และควรให้คะแนนกับตรงนี้ด้วย และที่สำคัญคือการเข้าไปสำรวจดู ความคิด ทัศนคติ รวมไปถึงมาตฐานในเชิงวิชาการ และวิชาชีพ ของ นิสิต นักศึกษา ในสถาบันต่างๆด้วยว่าเป็นอย่างไร (แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่วัดค่าค่อนข้างยาก แต่ผมว่าคุ้มกับการทำนะ) รวมไปถึงการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากการสังเกตร่วมเข้าไปด้วย ไม่ใช่สักแต่ว่าให้กรอกข้อมูลออนไลน์เท่านั้น

กล่าวโดยสรุปก็คือ นอกจากการวัดผลในเชิงทั่วไป (general) ที่บ่งชี้ถึงมาตรฐานการเรียนการสอนหรือการวิจัย โดยรวมแล้ว เราจะต้องมีดัชนีที่ชี้วัดความเป็น “ตัวตน” ของสถาบันนั้นๆด้วย ว่าสามารถบรรลุถึงความเป็นตัวตนของสถาบันนั้นได้ดีแค่ไหน เพราะปัญหาสำคัญของการวิจัยแบบสมัยใหม่ก็คือการหาหลักการโดยทั่วไปให้ได้ ซึ่งตรงนี้ผมเองไม่ปฏิเสธเลยแม้แต่น้อย หากแต่เราต้องกระทำควบคู่ไปกับ “ตัวตน” ของแต่ละสถาบันด้วย เพื่อคงไว้ซึ่ง “อัตลักษณ์” (identity) ของสถาบันนั้นๆ ไม่ใช่ใช้การวัดผลในเชิงทั่วไปเข้าทำการตัดสินความเป็นสถาบันนั้นๆอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในด้านของมหาวิทยาลัยเองก็ต้องหัดยอมรับผลการจัดอันดับเอาไว้บ้าง เพื่อทีจะนำมาสู่การปรับปรุงมาตรฐานด้านต่างๆให้ดีขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าตามก้นดัชนีดังกล่าวจนสูญเสียลักษณะของตัวตนไป

สุดท้ายแล้ว ผมเห็นด้วยกับการจัดอันดับครับ แต่ต้องทำให้ชัดเจนกว่านี้ ด้วยวัฒนธรรมแบบไทยๆที่มามัวรักษาหน้ากันอยู่ผมว่ามันควรจะเลิกได้แล้วล่ะ การที่มหาวิทยาลัยแต่ละที่มีมาตรฐานไม่เท่ากันนี่ผมว่าเราจำต้องยอมรับมันเอาไว้ แต่ไม่ใช่เพื่อให้เกิดช่องว่างและความแตกแยก หากแต่เป็นการยอมรับเพื่อสร้างจุดเชื่อมและยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน ความเท่าเทียมแท้จริงคงเป็นสิ่งที่ขึ้นยาก และกว่าที่เราจะไปถึงมันคงจะนานเชียวล่ะ ดังนั้นแล้วผมว่ากว่าจะถึงตอนนั้นเราจำต้องหาทางอยู่ร่วมกันให้ได้ครับ เพื่อประโยชน์ของกันและกัน และเพื่อประโยชน์ของนิสิตตาดำๆทั้งหลายด้วย

นี่เป็นเพียงเรื่องวุ่นๆเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา เรื่องเดียวที่ผมเอามาบ่นไว้ว่างๆจะทยอยเอามาบ่นอีกครับ มีสาระบ้าง ไร้สาระบ้าง ก็ทนๆฟังกันหน่อยนะแฟนคลับทั้งหลาย ฮ่าๆ

ปล.

สำหรับผู้ที่สนใจมี link อีกเยอะเชียวครับ ตามด้านล่างนี้เลย
ข่าวมติชนครับมีเป็นคอมโบเลย
และประเด็นวิวาทะกันใน
บอร์ดพันทิปครับ เห็นว่าน่าสนใจดี

13 comments:

Anonymous said...

ไอ้เรื่องที่ว่าชื่อเสียงอันดับต้นๆนั้นเพราะมาจาก
อาจารย์มีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ฯลฯ
มันก็พอจะมีส่วนอยู่หรอกเน๊าะ
แต่สำคัญกว่านั้นมันขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนมากกว่า
จิงมั้ยเพ่....เหอๆ
ทำเป็นพูดดี ตัวเองยังไม่มีสิทธิ์ได้เรียนเลย ก๊ากๆๆๆๆ

Gelgloog said...

จริงถ้าถามพี่เอง คิดว่าปัจจัยภายในและภานอกมันต้องสอดประสานเกื้อหนุนกัน

สภาพแวดล้อมอาจารย์ดี ย่อมเกื้อหนุนให้เด็กมีคุณภาพตามไปด้วยได้ ถ้าเด็กมันเล่นด้วยนะ

แม้สภาพแวดล้อมไม่ดี แต่ถ้าเด็กดั้นด้น ฮึดสู้เอง ก็สามารถพัฒนาตนได้เช่นกัน

ยิ่งถ้าสภาพแวดล้อมเยี่ยมแถมเด็กรักดี มันก็ยิ่งดีไปกันใหญ่

เราต้องให้น้ำหนักทั้งสองอย่างครับ คิดไปคิดมา ไอ้การที่บอกว่าเรียนที่ไหนก็ได้อยู่ที่ผู้เรียน ถ้ารู้จักใฝ่ ก้อสามารถเก่งได้ มันไม่ผิดหรอกนะ แต่ก็เหมือนหลอกตัวเอง เอาง่ายๆ แค่พี่ลองย้อนถามตัวเองว่า ลองไปเรียนที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่ๆพี่เรียนอยู่ตอนนี้ก็คงไม่เอาหวะ เรารู้อยู่แก่ใจแล้วว่าแต่ละที่มันเป็นเยี่ยงไร

วิธีการก็คือ เราต้องตระหนักรู้ตัวเองครับ รู้จุดเด่น ข้อดี จุดด้อยของตน การจัดอันดับเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ก็อย่ายึดเป็นสรณะ เพราะที่เห็น มหาลัยที่อันดับดีๆ ก้อยึดไปโวจัง ส่วนที่ได้อันดับไม่ดีก็โวยใหญ่

ไปๆมาๆ คนที่ได้รับผลกระทบก็เด็กๆทั้งนั้นแหละนะ

ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่เลยกรู อยากจะอ่านการ์ตูนไปจนวันตาย

Anonymous said...

จะจัดปัยเพื่อออารายค่า**



พี่บอยย


ไงเดกมอกุงเทบดีก่าเห็นๆอ่ะ


เราร๊ากกในหลวง

พระคุ้มครอง

มิส เคิบ**

Unknown said...

ยินดีกับมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยที่ครองแชมป์
ทั้ง 2 ประเภท

และเป็นกำลังใจให้มหาวิทยาลัยที่ถูกจัดให้อยู่ท้าย ๆ เร่ง "ฝีพาย" ให้ขึ้นมาอยู่ระดับต้น ๆ ครับ

Anonymous said...

ถ้ายังไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ละก็อ
อันนี้ช่วยไม่ได้แฮะ
แต่ในวัยผู้ใหญ่ก็มีความเป็นเด็กได้เหมือนกัน
แล้วก็ไม่ผิดอะไรด้วย
กลับจะดีซะกว่า
เพราะเด็กไม่คิดมาก
ช่วงท้อแท้ผิดหวังรู้สึกแย่ ฯลฯ
พี่ก็ลองทำตัวเป็นเด็กดูละกัน

Gelgloog said...

น้องเอ้ย เข้ามาเอิด อะไรแถวนี้เนี่ย อิอิ ยังไงก็ขอบใจที่แวะมาเยี่ยมนะ

อ้อ คุณติ๊กด้วยเช่นกันครับ อุตส่าห์แว่บเข้ามาโปะคอมเม้นเพิ่มกำลังใจให้แต่ละมหาลัย

ไอ้ปอมเอ้ย ในความหมายของพี่นะ ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ที่แม่งสร้างเรื่องราวความหนักกบาลให้เด็กเว้ย แต่อย่างที่เอ็งว่าแหละ ไม่ว่าจะโตแค่ไหนความเป็นเด็กก็ยังคงอยู่ในตัวเราทุกคน

แต่จริงๆเป็นผู้ใหญ่ก็อ่านการ์ตูนได้นี่หว่า ไม่เห็นต้องเป็นเด็กเลย 555

Anonymous said...

แบบว่าตามอ่านตลอดนะ แต่ช่วงนี้สมองไม่ค่อยแล่น แลยไม่รู้จะเม้นอะไร (แต่ตามอ่านตลอด+ รอพี่ท่านเมื่อไรจะส่งthesis รองาน masterpiece ระดับชาติอยู่)

แค่อยากจะฝากบอกว่า เอาเสียงศาลไคฟงออกเหอะ ผมเข้ามาทีไรตกใจทุกที!!!!

Gelgloog said...

เอ่อ คัส

งานกูไม่ถึงขนาดนั้นหรอกนะ มึงก็เว่อสาด แต่ว่าเป็น masterpiece ระดับซอยนี่โอเคเลยหวะ กูคงกินขาดในซอยบ้านกูมากๆ 555

ส่วนเพลงท่านเปานี่ก็ขอไว้ก่อน ยังเห่ออยู่เลย

Anonymous said...

นักมานุยวิทยารัฐศาสตร์ของคุย
ขอถามนิดนะครับว่าหากการแข่งขันในตลาดเสรีแบบคลาสสิคแล้วต้องมีทุนที่ใกล้เคียงกัน ถึงจะดูเสมอภาค แล้วการศึกษาบ้านเรา )มหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน หรือมหาวิทยาลัยรัฐ มีทุนที่ไม่เท่าเทียมจะแข่งขันทางวิชากการและงานวิจัยที่เป็นธรรมได้อย่างไร อย่างงี้เรียกระบบผูกขาดการศึกษาหรือเปล่าครับ
และอีกอย่างทำไมจึงไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างให้มีการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมหรือใช้ทรัพยากรร่วมกัน น่าจะเป็นประโยชน์กว่าจากนักมานุษยวิทยา

Anonymous said...

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยนี่ลบกระแสแอดมิดชั่นปะ และยังสร้างรรณะ ให้กับมนุษย์ตัวใหญ่ และตัวเล็ก ที่มาจากการจัดกลุ่มกันดับ ตัวใหญ่นี่มีรังสีแห้งความภาคภูมิใจเกินไปไหนก็ตัวพอง ส่วนมนุษยืตัวเล็กนี่ต้องเอาปี๊ปคลุมหัวเพราะว่าโดนตราหน้าว่าแย่ ไม่รู้ว่าสมัครงานจะใช้เกณฑ์พิจรณาด้วยไหม

Gelgloog said...

แหม ดีใจจังอุตส่าห์เข้ามาเยี่ยม blog ผม

ตามนัยยะเชิงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ (กระแสหลัก) แบบนีโอคลาสสสิคที่มีรากฐานมากจากแนวคิดของอดัมสมิธ ก็ได้บอกไว้ว่าท้ายที่สุดการแข่งขันจะนำพาสังคมไปสู่จุดที่การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุด ทุกคนได้ประโยชน์ แม้เรื่องของการกระจายทรัพยากรในแบบจำลองจะไม่ได้พูดโดยตรง แต่ทุกคน(ในแบบจำลอง)ภายใต้สภาพดังกล่าวก็ดูจะแฮปปี้ เพราะแม้ว่าการกระจายทรัพยากรจะไม่เท่าเทียมกันบ้าง แต่ถ้าหากอยู่บนจุดที่มีประสิทธิภาพมันก็จะสะท้อนถึงความพอใจสูงสุดของปัจเจกชนอยู่แล้ว

แต่ถ้าหากมองเรื่องการกระจายทรัพยากรเป็นสำคัญ สิ่งที่ควรจะทำในแบบจำลองก็คือการเพิ่ม initial endowment (ไม่รู้จะแปลว่าอะไรดี ในความหมายของคุณอาจจะแปลว่าทุนก็ได้)ของแต่ละคนให้เท่าๆกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วผลของการกระจายทรัพยากรก็จะมีความเท่าเทียมกันขึ้น

แต่ในโลกความเป็นจริงคงไม่เหมือนในแบบจำลองเศรษฐศาสตร์ ความไม่เท่าเทียม ความไม่ประสิทธิภาพ ถือเป็นเรื่องอันปกติของสังคม ไม้เว้นแม้แต่เรื่องของการศึกษาเช่นกัน

ประเด็นที่คุณเสนอมาเกี่ยวกับการผูกขาดที่น่าสนใจมากครับ อาจจะเป็นไปได้ที่สถาบันบางแห่งมี initial endowment มากกว่าที่อื่น จึงสามารถทำให้คงความเป็นผู้นำอยู่ได้ แต่มันก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวกันเสมอ ไม่จำเป็นที่มหาลัยทุนน้อยต้องชนะทุนใหญ่เสมอไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่กับว่าคุณจะวัดมันด้วยอะไร

ถ้าวัดกันด้วยประสิทธิภาพในเชิงวิชาการ หรือวัดจากคุณค่าของสถาบันที่สังคมมอง มหาวิทยาลัยของรัฐดูจะมีภาษีเหนือกว่า แม้ความรวยดูจะสู้มหาวิทยาเอกชนดังๆไม่ได้

แต่ถ้าวัดกันด้วยผลประกอบการเชิงธุรกิจ มหาลัยเอกชนคงชนะขาด (แต่ตอนนี้การศึกษาโดยมหาวิทยาลัยรัฐก็เริ่มมีการหากินเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นมาก)

ถ้าเป็นเรื่องการผูกขาดในแง่ของโครงสร้างตลาดผมว่าคงไม่ใช่ เผลอๆการกระจุกตัวของกลุ่มผู้เรียนอาจจะอยู่ในมหาลัยเอกชนมากกว่าก็ได้ ใครจะรู้ อิอิ

แต่ถ้าเป็นการผูกขาดในเชิงการสถาปนาคุณค่าให้กับตัวเองนี่ผมพอจะเห็นด้วยครับ แต่ทุนคงไม่ใช่ปัจจัยเดียว หากแต่มีปัจจัยทางสังคมและประวัติศาสตร์ที่ยาวนานคอยหนุนหลังอยู่

แล้วทำไมจึงไม่มีการปรับโครงสร้างกระจายทรัพยากรให้เท่าเทียมกันนะหรือ??

ผมขอตอบแบบผู้ที่ไม่มีความรู้และข้อมูลว่า เมื่อระบบการให้คุณค่าในสังคมมีต่อแต่ละสถาบันไม่เท่ากัน policy maker ก็มีแนวโน้มที่จะกระจายไปยังที่ๆดูดีกว่า (ในสายตาเค้าต่อไป)ดังนั้นสถาบันเล็กๆไม่ดัง ก็จะยังคงเป็นแบบนั้นต่อไป

เรื่องการกำหนด budget ผมว่ามันลึกซึ้งนะ แต่เห็นด้วยว่าควรจะกำหนดให้เหมาะสม (ผมไม่อยากใช้คำว่าเท่ากัน เพราะเท่ากันไม่จำเป็นจะต้องเหมาะสมเสมอไป)ตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสถาบัน

ส่วนเรื่องการใช้ทรัพยากรร่วมกันของคุณนี่ผมไม่ get ประเด็นแฮะ ขออภัย

สุดท้ายแล้วเรื่องการจัดอันดับจะเป็นการสร้างกระแสหรือไม่อย่างไร ที่สำคัญก็คือ มันควรจะมีวิธีจัดที่ดีกว่านี้นะ เหอ เหอ

Anonymous said...

ในเมื่อมันเกิดความไม่พอดี(ถึงจะเป็นทุนนิยมก็เหอะ) หนังสือมันก็บอกอยู่ว่าโทนโท่ รัฐ เป็นกลไกที่ต้องแทรกแซง

แต่พอดี รัฐ ในตลาดประเทศนี้มันไม่ค่อยได้เรื่องนะครับ


ส่วนเรื่องแบ่งชั้นวรรณะ(ส่วนหนึ่งมองว่าเป็นการสะสมทุน) ก่อนไม่มีจัดอันดับก็แบ่งอยู่แล้ว ยิ่งมีก็ไปกันใหญ่เลย แต่มีอีกมุมมองหนึ่ง มีการจัดก็ดีอย่างพวกที่ได้อันดับท้ายๆ อย่างเช่น ม.ราชภัฎ ต่างๆ(ขออภัยที่ต้งอยกตัวอย่าง)ได้ปริญญามา โทษทีบางสาขาที่ต้องมีใช้ math จบมายัง diff ไม่เป็นเลย
พวกกลุ่มเหล่านี้จะได้ active เร่งตัวเองหน่อย

คิดว่างั้นนะ.....รักเธอ...ประเทศไทย

Anonymous said...

ขอบคุณมากครับเกทมากสำหรับคำตอบ แต่ที่พี่ไม่เคลียร์เรื่องการใช้ทรัพยากกรร่วมกันผมหมายถึง ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยควรจะแลกเปลี่ยนคณาจารย์ในการร่วมทำงานวิจัย หรืองานสอน เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับนิสิตได้มีองค์ความรู้ที่หลากหลายมากขึ้น และที่สำคัญจะได้ก่อเกิดความรู้ที่แตกแขนงออกไปนอกเหนือจากที่ของตน ในสำนักตักศิลา ผมว่าน่าจะดีกว่า การศึกษาบ้านเราทุกวันนี้มันเหลื่อมล้ำมากจะได้น้อยลง