Sunday, October 09, 2005

การแข่งขันกับธรรมชาติของมนุษย์ : ข้อคิดจาก Academy Fantasia



ข้อสมมติอันสำคัญของแบบจำลองที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมปัจเจกชนในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักก็คือการที่มองมนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ(homoeconomicus) ที่มีเหตุผล (rational) กล่าวคือภายใต้แบบจำลองดังกล่าวผู้เล่น (players) ทุกคนในตลาดจะถูกขับเคลื่อนโดยแรงจูงใจทางด้านผลประโยชน์เป็นหลัก เช่นผู้ซื้อ(buyers)ก็จะต้องบริโภคสินค้าให้ได้รับความพอใจสูงสุด(utility maximization) ส่วนผู้ขายก็จะต้องผลิตและขายสินค้าให้ได้ในกำไรสูงสุด(profit maximization) ภายใต้บรรยากาศดังกล่าว ทุกคนจะแข่งขันกันทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งท้ายที่สุดการแข่งขันก็จะทำพาสังคมไปสู่จุดที่เรียกว่าภาวะอุตมภาพแห่งพาเรโต(pareto optimal) ซึ่งเป็นจุดที่สังคมได้รับสวัสดิการสูงสุด ทุกคนล้วนได้ประโยชน์จากการแข่งขันกันถ้วนหน้า

ข้อดีของการมองมนุษย์ในแง่มุมดังกล่าวเพียงด้านเดียวก็คือทำให้ง่ายต่อการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่นำเสนอการวิเคราะห์ที่เป็นเหตุเป็นผลและนำมาสู่ข้อสรุปต่างๆได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งที่ผมเห็นในโลกความเป็นจริงในบางกรณี(หรือหลายๆกรณี) ธรรมชาติของมนุษย์มันไม่ได้มีเพียงด้านเดียว แน่นอนว่าการแข่งขันมันก็เป็นด้านหนึ่งที่ฝังตัวอยู่ในสัญชาติญาณของการเป็นมนุษย์ (ต้องขอบคุณ Discovery Channel ที่ได้ให้ความรู้แก่ผมด้วยการนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับสัญชาติญาณการแข่งขันของมนุษย์) แต่ผู้เขียนเชื่อว่าภายใต้ความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนในสังคมของมนุษย์ คนเรานั้นมีหลากหลายมิติมากกว่าการแข่งขันห้ำหั่นกันเอง…….

ซึ่งผมได้ฉุกคิดในประเด็นดังกล่าวได้จากการได้ชมรายการเรียลลิตี้โชว์ ยอดฮิตของเมืองไทยซึ่งก็คือ “UBC Academy Fantasia season 2” ซึ่งรูปแบบของรายการนี้ก็คือการนำเหล่า “นักล่าฝัน” ทั้ง 12 คนที่ได้รับการคัดเลือกมาจากทั่วประเทศมาอยู่ร่วมกันในบ้าน Academy เพื่อฝึกฝนวิชาการแสดง การเต้น การร้องเพลง ฯลฯ ภายใต้คำชี้แนะของคุณครูหลายๆคนซึ่งแต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป

ซึ่งไฮไลต์ของรายการนี้จะอยู่ที่วันเสาร์ทุกสัปดาห์ โดยนักล่าฝันจะต้องแสดงคอนเสิร์ตต่อหน้าผู้ชมโดยที่แต่ละคนจะได้โจทย์เพลงที่แตกต่างกัน และมีเหล่า commentator คอยวิพากษ์วิจารณ์การแสดงของแต่ละคน โดยแต่ละสัปดาห์จะต้องมี 1 คน ที่ได้รับผลโหวตจากผู้ชมน้อยที่สุดจะต้องออกจากบ้าน Academy ไป

จนมาถึงวันสุดท้ายของการแข่งขัน ผมมองเห็นเหตุการณ์ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในความประทับใจนั่นคือเหล่าบรรดานักล่าฝันต่างพรั่งพรูความรู้สึกที่มีให้กันและกัน แม้จะไม่มีคำพูดใดๆแต่ผมก็สามารถสัมผัสถึงมิตรภาพและความรู้สึกดีๆ ระหว่างพวกเขาเหล่านั้น รวมไปถึงความรู้สึกที่มีต่อครูบาอาจารย์ที่คอยสอนสั่งมาตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์

นั่นหมายความว่าแม้จะอยู่ภายใต้บรรยากาศที่ทุกคนจะต้องแข่งขันกัน แต่ระหว่างการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในบ้าน Academy มันก็ก่อให้เกิดมิตรภาพ ความผูกพัน การให้กำลังใจซึ่งกันและกันความรู้สึกดีๆให้แก่กัน สิ่งเหล่านี้ค่อยๆพัฒนาก่อตัวไปพร้อมกับการแข่งขันที่ทุกคนต่างต้องฟันฝ่าเพื่อความฝันของตนเอง

แล้วสิ่งที่ผมเห็นมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์หรือไม่??

มันทำให้ผมคิดได้ว่าการแข่งขันไม่ได้เป็นธรรมชาติเพียงอย่างเดียวของมนุษย์……

ภายใต้สมมติฐานของแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่ทุกคนต้องแข่งขันซึ่งกันและกัน แม้เราจะได้แบบจำลองที่อธิบายพฤติกรรมหนึ่งๆได้อย่างหมดจดสวยงาม ดูดีและเป็นเหตุผลเสียเหลือเกินมันทำให้เราหลงลืมอีกหลายๆด้านที่ดำรงอยู่ในตัวตนของความเป็นมนุษย์

แม้การวิเคราะห์โดยใช้ตรรกะ(logic) ทางคณิตศาสตร์จะทำให้เศรษฐศาสตร์ดูเป็นศาสตร์ที่มีระเบียบแบบแผนและมีเหตุมีผลในทุกขั้นตอน แต่สิ่งที่ผมเห็นก็คือการวิเคราะห์บางอย่างภายใต้ตรรกะทางคณิตศาสตร์มัน “too logical to be true” บางอย่างมันไม่ได้ใกล้เคียงกับโลกความเป็นจริงเลยแม้แต่น้อยแม้มันจะมีเหตุมีผลก็ตามที แล้วจะนำมันไปอธิบายโลกความเป็นจริงได้อย่างไร

ผมไม่ได้บอกว่าแบบจำลองเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือการมองโลกผ่านทางแบบจำลองที่มีสมมติฐานคับแคบดังกล่าวคงมิอาจที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมทางสังคมได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้นแล้วการตระหนักถึงข้อจำกัดของแบบจำลองจึงเป็นสิ่งสำคัญและผู้ที่นำมันไปใช้ควรคำนึงถึงสิ่งนี้อยู่ทุกขณะจิต

ดังนั้นแล้วเศรษฐศาสตร์ก็ควรมองธรรมชาติของมนุษย์ให้มีความเป็นมนุษย์มากกว่าที่จะมองมนุษย์เป็นเพียงแค่สัตว์เศรษฐกิจอย่างที่เป็นอยู่ เพื่อทำให้เราสามารถทำความเข้าใจโลกแห่งความซับซ้อนนี้ได้เข้าใกล้ความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น!!




20 comments:

Anonymous said...

สุดยอดจริงๆ คิดได้ยังไง ผมว่าต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์โลกแน่ๆเลย ลองอ่านดูให้ข้อคิดอะไรมากมาย เจ๋งโคตรๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

Anonymous said...

แฮะๆ เก่งเหมือนเดิมเลยน๊า

ฝีมืองานเขียนเนียะ

อยากเก่งอย่างพี่ชายคนนี้บ้างจังงง

อ่าหน่า ผึ้ง ก็ตอนนี้ลองผิดลองถูกอยู่

ยังไง เป็นกำลังใจให้ต่อไปนะจ๊า

อาเฮีย สุดที่ร๊ากกก

หนูผึ้งเองค๊า...

Anonymous said...

สุดยอดเฮียกรู ทำไปได้ เห็นหน้าตาเบลอตลอดเวลาเเต่เเน่จิงเฮียผมอิอิ สู้ต่อไปเฮียเเล้วมาสอนเสดสาดผมด้วย ห้ามลืมเลยข้อสำคัญ จากบ่ายเองนะเฮีย

Gelgloog said...

เอ่อ...คุณท่านเดะห้อง9ครับ

ขอบคุณที่ชมนะแต่สงสัยจะชมกันซะเว่อร์เกินแฮะ ไว้สุดสัปดห์นี้ที่พวกคุณจะนัดกันมาบ้านผม ผมซัดคุณก่อนแน่นอน 555

Anonymous said...

เดวมามาต่อพุ่งนี้ค่ะ...โหลดหนังอยู่ ^^

Anonymous said...

นี่แหละที่ผมอยากอ่าน วันหลังพี่เขียนเอาแบบ แนวสังคม (เหตุการณ์บ้านการเมือง)

ส่วนเรื่องการเขียนดีครับ โดยส่วนตัวผมชอบอ่านอยู่แล้ว ในเรื่องมุมมองของคนแต่ละคนซึ่งอาจจะมีตรงหรือไม่ตรงใจบ้าง แต่โดยรวมถือว่าดีครับ ชอบ

แล้วผลิตงานออกมาให้อ่านบ่อยๆน้า

Anonymous said...

อ่านแบบมึนๆแต่พอเข้าใจที่พี่พูดถึงบ้าง แหะๆ คราวหน้าพูดถึงเศรษฐศาสตร์เชิงอักษรศาสตร์บ้างจิ มีไหมอ่ะ อิอิ

Gelgloog said...

ขอบคุณทุกคนมากเลย

ผมจะพยายามหัดเขียนต่อไปคร้าบ....

Anonymous said...

อันนี้ดีคับ อ่านแล้วรู้สึกรอยหยักในสมองเพิ่ม

ทำให้อยากเขียนบ้างนะนี่ แล้วจะรองานชิ้นหน้านะ

Anonymous said...

เอาเร่องเบาๆมาลงมั่งก็ดีนะโว้ยยย
จะได้มีหลายรสชาดหน่อย ๕๕๕

Gelgloog said...

ได้เลยครับพี่เดี่ยว

กะจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับหนังสือการ์ตูนด้วยพี่ รอติดตามละกัน

Anonymous said...

แง่มแง่ว
เพ่บอยเขียนได้กินจายอีกแย้วอ่ะ
เงิฟๆๆ
อ่านแล้วได้ความรู้หลากหลาย
เอามาเขียนบ่อยๆนะค่ะ
ฟ้าจะเข้ามาอ่านบ่อยๆเลยค่ะ
มิสๆๆ
เทคแคร์ค่ะ

Anonymous said...

ขอบคุณ ที่ไปช่วย ซื้อหนังสือนะค้า
แล้วจะเข้ามาอ่านเรื่อยๆ ค้า

Gelgloog said...

แหม.....ที่แท้พี่สาวที่บูทหนังสือก็คือคุณพี่ grappa นั่นเอง

ยินดีที่ได้รู้จักนะคร้าบ

Anonymous said...

ผลิตงานเยอะๆ นะ เผื่อจะรวมเล่มเเล้วดัง ซะที

Anonymous said...

เขียนได้ดีเลยค่ะ หวังว่าอนาคต คงได้อ่านหนังสือที่คุณเขียนนะคะ ชอบ ประโยคที่บอกว่า too logic to be true
ใช่ค่ะ หลายๆอย่างในโลกอยู่ในแบบ beyond logical condition.โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่ามนุษย์ เพราะมนุษย์ เป็นสิ่งมี่ชีวิตที่มีจิตใจ และอารมณ์(ยากแท้หยั่งถึง + ซับซ้อน)

Gelgloog said...

คุณ poy ครับ

ลองกลับไปอ่านที่ผมโพสต์ครั้งล่าสุดคุณอาจจะเปลี่ยนคำพูดก็ได้นะ 5 5 5

แต่นี่ก็คือหนึ่งในความเป็นมนุษย์ครับ ผมว่าคนเรามันมีหลายโฉมหน้าหลายจิตใจ มนุษย์เราไม่ได้มีด้านเดียว

จริงๆตอนนี้มีหลายประเด็นเลยครับที่อยากจับมาเขียนเป็นบทความ แต่รู้สึกว่า blog ผมในตอนนี้จะอยู่ในโหมดเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวันแบบกู่ไม่กลับเสียแล้ว

ขอบคุณที่เข้ามาติดตามนะครับ

ป.ล.
วลีที่ว่า "too logical to be true" ผมไม่ได้เป็นคนบัญญัติเองหรอกครับ แต่เป็นคำที่อาจารย์ท่านหนึ่ง(อ.แล ดิลกวิทยรัตน์ : ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม) เคยพูดออกมาระหว่างการเลคเชอร์ครับ ผมเลยจำติดจนกระทั่งถึงบัดนี้

Anonymous said...

TO Khun Gelgloog.
อ้อ เคยเรียนกับอาจารย์ท่านนี้เหมือนกัน ไม่แน่ใจว่า Labor Econ หรือป่าว นานมากกกก แล้ว
อาจารย์ใจดีมากค่ะ ไว้จะเข้าไปติดตามอ่าน blog ไปเรื่อยๆ นะคะ :-)

19/10/05
8:49 hrs.

Gelgloog said...

โอว...

ดีใจจังเลยได้เจอคนที่เรียนทีเดียวกัน

ขอบคุณมากครับที่ติดตาม คราหลังเชิญวิจารณ์ข้อเขียนของผมได้ตามสะดวกเลยนะครับ

Anonymous said...

คนให้กำลังใจมึงเยอะแล้ว เอาเป็นว่ากูแค่มาทักทายละกัน