Monday, November 28, 2005

เศรษฐศาสตร์การเมือง???


-1-
คำว่าเศรษฐศาสตร์การเมือง(political economy)เชื่อเลยว่าคำๆนี้คงจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับใครหลายๆคน ในอีกทางหนึ่งสำหรับหลายๆคน ก็อาจจะไม่เคยได้ยินคำๆนี้เลยด้วยซ้ำ บางคนที่คุ้นเคยหรือเป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์อยู่แล้วก็อาจจะงงเสียด้วยซ้ำว่า เอ……มันมีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์แบบนี้ด้วยหรือเนี่ย แล้วอาจจะตั้งคำถามต่อไปว่าแล้วสาขาวิชาดังกล่าวมันร่ำเรียนอะไรกัน ด้วยความฉงนต่างๆเหล่านี้จึงนำมาสู่ความสนใจของผมที่จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้พอเป็นบทนำร่องสำหรับทุกๆท่าน

โดยส่วนตัวผมคิดว่านิยามของเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นอะไรที่ค่อนข้างจะคลุมเครือไม่ชัดเจนซักเท่าใด กล่าวคือคงไม่สามารถนิยามคำว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดตายตัว

การที่มองมันว่าไม่ชัดเจนนั่นก็เพราะว่าคำๆนี้มีนำยามที่หลายหลากและแต่ละอันก็ไม่ได้มีความหมายที่ผิด บางคนก็บอกว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองก็คือเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์(Marxism) บางคนก็บอกว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองก็คือการศึกษาเศรษฐศาสตร์โดยพิจารณาแง่มุมทางด้านการเมืองเข้าไปด้วย ฯลฯ ซึ่งก็ไม่น่าจะขัดข้องแต่ประการใด

แล้วถ้าถามผมล่ะจะตอบว่าอะไรดี??

สำหรับผมถ้าจะพูดอย่างง่ายที่สุดเศรษฐศาสตร์การเมืองก็คือการศึกษาเศรษฐศาสตร์กระแสอื่นๆที่ไม่ใช่ใช่เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก(non-mainstream economics) หรือพูดอีกแบบได้ว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองก็คือการศึกษา”เศรษฐศาสตร์นอกคอก”(heterodox economics หรือ unorthodox economics)นั่นเอง ดังนั้นแล้วสำหรับผมคำว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองมันไม่จำเป็นต้องหมายถึงเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสม์ แต่ผมคิดว่ามันเป็นอะไรที่ก้าวไปไกลกว่านั้น อย่างไรก็ตามเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสม์ก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสาขาของเศรษฐศาสตร์การเมืองแน่นอน

นี่ไงครับที่บอกว่ามันคลุมเครือ เพราะถ้าถามคนอื่นอาจจะได้คำตอบอีกอย่างหนึ่งแต่ถ้าถามผมก็จะได้คำตอบดังที่เห็น ดังนั้น ณ ที่นี้ก็ว่าไปตามน้ำแบบนี้ก่อนละกัน

การที่บอกว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นเศรษฐศาสตร์นอกคอก มันไม่ได้หมายความว่าเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือพวกเศรษฐศาสตร์แบบนิโอคลาสสิค(neo-classical economics) เป็นเศรษฐศาสตร์ที่อยู่แต่ใน “คอก” หรือเป็น “กบ” ในกะลาแต่อย่างใด ที่ต้องการจะสื่อคือเศรษฐศาสตร์การเมืองมันก็คล้ายกับว่าเรา “กระโจน” ออกจาก “คอก” ของเศรษฐศาสตร์นิโอคลาสสิคไปยังเศรษฐศาสตร์ “คอก” อื่นๆ ที่เราอาจจะหลงลืมมันไป

และประเด็นสำคัญก็คือบรรดาคอกเศรษฐศาสตร์การเมืองทั้งหลายมีความแตกต่างจากคอกเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างเห็นได้ชัด

เศรษฐศาสตร์กระแสหลักก็คือบรรดาเศรษฐศาสตร์ที่เปิดสอนกันอยู่เป็นส่วนใหญ่ครับ เนื้อหาแกนๆของมันก็ได้แก่พวกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค(microeconomics)และเศรษฐศาสตร์มหภาค(macroeconomics)ซึ่งผมคิดว่าทุกคนคงจะคุ้นเคยกับสองวิชานี้พอสมควร

เศรษฐศาสตร์กระแสหลักถือได้ว่าเป็นวิชาที่มีวิธีที่ค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์สูงหรือจะเรียกอีกอย่างว่าเป็น”ศาสตร์ที่แข็ง”(hard science)เพราะใช้เครื่องไม้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และสถิติอันได้แก่คณิตศาสตร์และเศรษฐมิติ(econometrics)มาใช้ในการสร้างทฤษฎีและแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่างๆ โดยที่ในการวิเคราะห์จะต้องมีการสมมติปัจจัยอื่นๆให้คงที่และมุ่งประเด็นการวิเคราะห์ไปที่ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์อย่างแข็งขัน

แต่ถ้ากลับมามองเศรษฐศาสตร์การเมืองจะพบว่า แม้บางคอกของเศรษฐศาสตร์การเมืองจะไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์สูงเหมือนเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แต่ในการวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆรวมถึงประเด็นทางด้านเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การเมืองจะพิจารณาเอามิติทางด้านอื่นๆด้วยไปด้วย เช่นมิติด้านสถาบัน(institution)ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มิติทางด้านการเมืองซึ่งก็คือเรื่องของอำนาจ(power)และชนชั้น(class) รวมไปถึงมิติทางด้านบริบททางประวัติศาสตร์(historical context) กล่าวคือจะมีลักษณะการวิเคราะห์เป็นแบบองค์รวม(holistic)นั่นเอง

อีกทั้งการวิเคราะห์ในเชิงพลวัตร(dynimics)ระหว่างสองกระแสนี้ก็มีความแตกต่างกัน โดยเศรษฐศาสตร์การเมืองในการวิเคราะห์เชิงพลวัตร แม้จะไม่ได้วิธีการทางคณิตศาสตร์อย่างแข็งขันเท่าเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแต่ในการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวก็จะไม่หลงลืมมิติทางประวัติศาสตร์อันเป็นสิ่งสำคัญไป ซึ่งแตกต่างจากการวิเคราะห์เชิงพลวัตรในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่วิเคราะห์ตัวแปรทางด้านเศรษฐศาสตร์โดยพิจารณาปัจจัยเวลาที่เป็นนามธรรม เป็นเวลาที่ไม่มีประวัติศาสตร์เป็นเวลาที่เลื่อนลอยและไม่มีความหมายในตัวเอง

คงพอจะมองเห็นภาพคร่าวๆแล้วนะครับ

ก่อนที่จะเลยเถิดไปในประเด็นต่อไป ผมก็ขอย้ำอีกทีครับว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองมันเป็นอะไรที่ยากจะนิยามเบ็ดเสร็จครับ เช่นบางคนที่อยู่ในสายนีโอคลาสสิคอาจจะมองว่าเศรษฐศาสตร์ทางเลือกสาธารณะ(public choices economics) ที่วิเคราะห์พฤติกรรมทางการเมือง รวมไปถึงนโยบายต่างๆโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ถือได้ว่าเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง แต่สำหรับบางกลุ่มบางคนอาจจะมองว่าการใช้เครื่องมือแบบนี้ถือว่ามีความเป็นเศรษฐศาสตร์การเมืองน้อยหรือสำหรับคนที่ไม่นิยมเครื่องมือทางคณิตศาสตร์อาจจะมองว่ามันไม่มีความเป็นเศรษฐศาสตร์การเมืองเสียด้วยซ้ำไป

ดังนั้นแล้วเกณฑ์หรือบรรทัดฐาน(criteria)ของแต่ละคนไม่เหมือนกันครับซึ่งตรงนี้มันก็แล้วแต่ว่าคนๆนั้นผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม(socialization)มาแบบใดหรือมีบริบททางประวัติศาสตร์ มีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งตรงนี้มันก็หล่อหลอมให้ “โลกทัศน์” ที่มีต่อคำว่า “เศรษฐศาสตร์การเมือง” ของแต่ละคนไม่เหมือนกันด้วย

ดังนั้นแล้วประเด็นในแง่ที่ว่าอะไรเป็นเศรษฐศาสตร์การเมืองหรือไม่เป็น แล้วถ้าเป็น มันเป็นมากเป็นน้อยขนาดไหน แล้วมันจัดอยู่ทางฝั่งซ้ายหรือขวา ฯลฯ คงเป็นเรื่องที่ตอบยากครับ สำหรับที่นี้คงเป็นเพียงแค่บทนำร่องซึ่งคงจะไม่เพียงพอที่จะไปตอบคำถามต่างๆเหล่านั้น

-2-
สำหรับสถานการณ์ของเศรษฐศาสตร์การเมืองในตอนนี้มันก็คงไม่เกินจริงเลยถ้าจะบอกว่าแวดวงเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันนี้ถูก “ครอบงำ” โดยเศรษฐศาสตร์กระแสหลักในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่การเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ในระดับมัธยม ระดับปริญญาตรียันระดับหลังปริญญาตรี

ส่วนเศรษฐศาสตร์การเมืองนั้นยังคงได้รับการสนใจน้อยมาก(ในความคิดผม)ที่เห็นเปิดสอนกันอย่างเป็นจริงเป็นจังก็คงเป็นที่ จุฬาฯ ที่มีหลักสูตรปริญญาโททั้งในส่วนของภาคปกติและภาคค่ำ (แต่ในส่วนของภาคปกตินี่มีคนเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์การเมืองน้อยมากถึงน้อยที่สุดจนเค้าแทบไม่อยากจะเปิดกัน) สำหรับที่ธรรมศาสตร์ผมไม่ทราบว่ามีเคลื่อนไหวในแง่ของหลักสูตรอย่างไร แต่ก็มีคณาจารย์หลายๆท่านที่มีการเคลื่อนไหวทางความคิดในประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับอีกที่ๆเปิดสอนถ้าจำไม่ผิดก็คงเป็นที่ ม.เชียงใหม่ครับ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นผ่านๆตามาจะเป็นการสอนในระดับปริญญาโท และเท่าที่ทราบมาก็มีเปิดสอนอีกที่ๆ ม.บูรพา ด้วยและอีกที่หนึ่งก็คงจะเป็นกลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมืองลุ่มแม่น้ำโขง ของ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี อาจจะมีที่อื่นตกสำรวจนะครับ ถ้าตกหล่นก็บอกผมด้วย เพราะอยากรู้อีกเหมือนกันว่ามีทีไหนเปิดสอนบ้าง

เห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองได้รับความสนใจน้อยมากถ้าจะพิจารณาในแง่ของการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัยเอกชนผมเชื่อได้เลยว่าคงหาได้น้อยมากที่จะมีวิชาทางด้านนี้เปิดให้เรียน สิ่งที่ผมอยากจะเห็นก็คือการเปิดกว้าง ให้มีวิชาทางด้านนี้ให้เลือกเรียนบ้างเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการศึกษาไม่ใช่ไม่มีเลย เป็นการเปิดมุมมองในแง่ที่ว่าเศรษฐศาสตร์มันไม่ได้มีแบบเดียว หากแต่มีเศรษฐศาสตร์แบบอื่นๆให้เลือกศึกษากันด้วย

-3-
ข้อเขียน ณ ที่นี้คงเป็นแค่การตอบคำถามที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองในระดับที่เป็นพื้นฐานที่สุด ซึ่งคงจะมีอีกหลายแง่มุมที่ต้องรอค้นหาคำตอบกันต่อไป ถึงอย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าผู้ที่หลงเข้ามาอ่านก็คงพอจะมองเห็นภาพของมันไม่มากก็น้อย

ดังนั้นโปรดอย่าลืมนะครับว่ายังมี “คอก”เศรษฐศาสตร์กระแสอื่นๆนอกจาก “คอก” เศรษฐศาสตร์กระแสหลักอีกมากมาย !!

25 comments:

Anonymous said...

สำนวนการเขียนเริ่มมีสีสันมากขึ้น ทำให้ผู้อ่านอ่านไปได้เรื่อยๆ โดยไม่รู้สึกว่า "เมื่อไหร่จะจบสักทีวะ" นับว่ามีพัฒนาการจ้า..... ขอฟันธง ^-^"

Anonymous said...

ขอบคุณครับที่เขียนอธิบาย หลัง ๆ มานี้เห็นคนเขียนถึงเศรษฐศาสตร์กระแสรองมากขึ้นเรื่อย ๆ ใจจริงผมอยากให้มีการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองในระดับปริญญาตรีด้วยซ้ำ เพราะจะทำให้คนเรียนรู้รอบด้านมากขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะผลักดันให้เกินขึ้นได้หรือเปล่า

Anonymous said...

ผมเขียนวิเคราะห์สื่อด้วยแนวทาง political economy แล้วนะครับ (บวกด้วย Gramci นิดหน่อย)

มันอาจจะไม่ตรงกับสาย economic แบบคุณสักเท่าใดนัก

ตามไปอ่านได้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=djdonk-mc43&month=11-2005&date=29&group=1&blog=1

Gelgloog said...

คุณ tony almeida ขอเรียกคุณว่าอาจารย์ก็แล้วกันนะครับ

ผมว่าเป็นทิศทางที่ดีนะ ถ้าจะมีการเคลื่อนไหวในประเด็นนี้เพิ่มมากขึ้น ขอเอาใจช่วยให้อาจารย์สามารถผลักดันสิ่งนี้ให้เกิดได้ไวๆครับ เพราะเท่าที่เห็นในระดับปริญญาตรีมีการสอนในวิชานี้น้อยมาก แม้แต่ที่ที่จุฬาฯก็เช่นกัน

คุณI will see U in the next life ผมเข้าไปเยี่ยม blog คุณแน่นอน เพราะสนใจอยู่เหมือนกันครับ อยากให้คุณลองเขียนประเด็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องสื่อสารมวลชนจัง(ไม่รู้ขอมากไปรึเปล่า??)เพราะตอนที่ผมเรียนมามันผ่านประเด็นนี้มานิดเดียวเองครับ นิดเดียวจริงๆ อยากจะลองอ่านข้อเขียนจากมุมมองของผู้ที่เรียนในสายนี้โดยตรงครับ

ขอบคุณทั้ง 2 ท่านที่แวะเข้ามา

Anonymous said...

เล่นเอาเครียดแต่เช้าเลยนะครับ

ผมเพิ่งเข้าใจว่าแท้จริงแล้วเศรษฐศาสตร์การเมือง มันรวมเอาเศรษฐศาสตร์แขนงอื่นๆ ทั้งหมดที่ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์สาขาหลัก เข้าไว้ด้วยกัน ทีแรกคิดว่ามันเป็นเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แต่ผมเองมีความรู้ด้านนี้น้อยนัก ได้มาอ่านข้อเขียนของคุณแล้วก็ทำให้รู้เห็นอะไรได้กว้างขึ้น เสริมสร้างสติปัญญา เพิ่มรอยหยักในสมอง

ถ้าเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นศาสตร์นอกคอกของเศรษฐศาสตร์อย่างที่คุณบอก ผมว่าแนวโน้มของการพัฒนาและความสนใจของคนที่มีต่อมันก็จะต้องมากขึ้นตามลำดับ เพราะในปัจจุบันนี้ คนเราเริ่มที่จะเดินออกจากเส้นตรงที่ขีดไว้มากขึ้น

หวังว่าคุณคงมีส่วนช่วยในการพัฒนาให้ศาสตร์สาขานี้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นๆ ไปด้วยเหมือนกันนะครับ

ปล. ผมไม่สะดวกจะเปิดเผยชื่อจริงหน่ะครับ เรียกผมว่า "ริว" แล้วกัน มีคนใน exteen ตั้งชื่อให้ผมไว้แบบนี้

Anonymous said...

มึงนี่เหมาะกับการเป็นอาจารย์จริงๆ สุดยอดๆ

Gelgloog said...

คุณริว

อุตส่าห์เข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับ ผมไม่มีอะไรจะกล่าวนอกจากรับพรของคุณก็แล้วกันนะ ซ้า....ทู้ แต่ก่อนจะไปทำแบบที่คุณว่าได้เห็นทีต้องรีบเรียนให้จบก่อนล่ะครับ(ว่าแต่เมื่อไหร่จะจบวะเนี่ย 55)

ไอ้บอยเพื่อข้า

เออ ดีใจที่มึงแวะเข้ามาอ่าน และขอรับคำชมมึงเอาไว้ แต่วันนั้นที่มึงเบี้ยวนัดเล่นบาสกูยังจำได้มิมีลืมเลือน หวังว่าคราวหน้ามึงคงไม่เบี้ยวอีกนะ

Anonymous said...

แวะมาเม้นค่ะพี่บอย...ทีจริงแล้วตอนเช้ามาเม้นทีนึงแต่ว่า เป้นบ้ามันไม่ขึ้น..มาดูอีกทีพึ่งกลับมาจากค่ายคณะเศรษฐศาสตร์ พี่บอยนี่เขียนได้แบบว่าไงดีล่ะเอาที่copy ไปนั่งถามพี่ที่ภาควิชาดุว่านี่คืออะไร แปลว่าอะไรเลยไปให้ พ่อเพื่อนที่เป็นรองศาสตราจารย์ อ.นคร แต่คุณลุงเค้าอยู่ที่ภาควิชา บริหารธุรกิจยังบอกเลยว่าพี่บอยสมกับเป็นนักเศรษฐศาสตร์ นั่นแหละเลยนั่งอ่าน หลายรอบเลยทีเดียวกับการคิกว่าจะเม้นยังไงดีละเนี่ย น่าสนใจแต่ไม่ค่อยรู้เรื่องไง..มีอะไรจะถามเยอะมากเลยเกียวกับ แขนงของมัน แต่ละที่ๆเปิดสอน จนตอนนี้หาความกระจ่างยังไม่ได้เลยเกี่ยวกับการ เลือกเรียนอยุ่ปรากฎว่ามีเยอะมาก ครูที่สอนอยุ่ก็เรียนมาแค่กลุ่มสาระการเรียนรู้เท่านั้น ไว้ออนเจอกันถามเยอะหน่อยนะคะ
p.sไม่นึกว่าแค่การหาtopic วิทยานิพนธ์จะยุ่งยากขนาดนี้ ตอนนี้คงหายเซ็งแล้วสินะพี่บอย
**ที่ม.ชรู้สึกว่าจะมีวิชาโทเศรษฐศาสตร์ การเมืองเปิดสอนนะ
**เจอกันค่ะพี่บอย

Anonymous said...

อ่านเฉย ๆ นะครับ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ผมน้อยเกินไป .... ข้าน้อยขอคาราวะแล้วกันครับ

The Iconoclast's Journey said...

ผมก็เรียน Political Economy เหมือนกัน ไว้ว่างๆทำความรู้จักกันนะครับ suppaleuk@hotmail.com

Gelgloog said...

น้องนุ่น

พี่ยังห่างไกลหวะ ยังไม่อาจเอื้อมไประดับนั้นอ่านะ เศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นอะไรที่มีกระแสความคิดมากมายหลายหลากมาก ไอ้ที่พี่รู้ก็แค่ติ่งๆของมันเท่านั้นเอง แต่ก็ดีใจนะที่ติดตามอ่านกัน

คุณ pol_us

ขอบคุณที่อุตส่าห์แวะมาครับ แหม...เล่นพูดแบบนี้ผมก็เขินกันพอดี blog ผมสบายๆครับไม่ต้องพิธีการมาก ชิวๆขำๆ 55

คุณThe Iconoclast's Journey

ผมแอดเมลไปแล้วครับ ได้คุยแน่นอน กลัวแต่ว่าผมจะสาระไม่พอสิครับ เพราะเอาเข้าจริงผมก็ไม่ได้มีสาระอะไรมากมาย อิอิ

Anonymous said...

กระแสหลักดีกว่ากระแสรองตรงที่ทฤษฏีของกระแสหลักนั้นมีกลไกที่แน่นอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

ส่วนกระแสรองนั้นดีกว่ากระแสหลักตรงที่กระแสรองนั้นพูดเกี่ยวกับหลายสิ่งหลายอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักไม่ได้สร้างโมเดลเอาไว้

กระแสรองนั้นไม่ได้รับการเชื่อถือเท่ากระแส เพราะว่ามันขาดกลไกที่แน่นอนที่ละ พอมันไม่มีกลไกที่แน่นอนนี้มันก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถทดสอบว่าทฤษฏีของกระแสรองนั้นมันถูกต้องจริงๆทางทฤษฏีไหม

แต่อย่างไรนี่ไม่ได้หมายความว่ากระแสรองเป็นสิ่งที่ผิด มันแต่หมายความว่าทฤษฏีกระแสรองนั้นยังไม่ได้ผ่านการ prove อย่าง rigorous ทางทฤษฏีเท่านั้นเอง

นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหลายคนก็เอาความคิดที่จะสร้างโมเดลมาจากกระแสรองนี่ละ ยกตัวอย่างเช่นพวก institution ที่กำลังฮอทในตอนนี้

------------------------

ผมขอ add คุณ gelgloog ใน bloggang ด้วยนะคร้าบ

Gelgloog said...

คุณ solow

ประเด็นสำคัญของ ศศ กระแสรองก็อย่างที่คุณพูดมาแหละครับ มันไม่มีการ prove ที่เป็นตรรกะสวยงามและแข็งขันแบบ ศศ กระแสหลัก

อย่างไรก็ตาม ศศ กระแสก็ได้นำเสนอไอเดียสำคัญๆหลายอย่างครับ แต่ละสำนักก็มีวิธีวิเคราะห์หรือวิธีในการศึกษาหาความจริงที่แตกต่างกัน

ผมว่าประเด็นเรื่องการพิสูจน์ความเป็นจริงทางทฤษฎีเป็นเรื่องลึกซึ้งครับ และผมเชื่อว่ามันน่าจะมีวิธีเข้าถึงความจริงได้หลายหนทาง คงไม่จำกัดแต่ตรรกะทางคณิตศาสตร์แน่นอน เพียงแต่ว่าการใช้ตรรกะทางคณิตศาสตร์จะทำให้เราได้ทฤษฎีเป็นกลไกที่หมดจดสวยงามและเป็นภาษาสากล

ผมเองเป็นคนที่ไม่ค่อยเก่งคณิตศาสตร์ครับ คิดว่าคงไม่มีความ create พอที่จะสร้าง model ใหม่ๆเจ๋งๆ ได้ตรงนี้ก็คงเป็นหน้าที่ของคนที่เก่งๆเค้าแหละครับ ส่วนผมก็ถูๆไถๆไปตามแบบของผมดีกว่า 555

สำนัก new institution ที่คุณพูดมาน่าสนใจนะ ตอนนี้สำนักดังกล่าวได้รับการยอมรับมาก

----------------

แอดได้เลยนะครับตามสบาย และขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมกันนะครับ

ป.ล.
ว่าแต่ว่าเมื่อไหร่คุณจะ up blog ซะทีหละเนี่ย อิอิ

Anonymous said...

ผมเกือบลืมๆไปแล้วถ้าน้องสาววัยมัธยมต้นของผมไม่มาถามว่าเศรษฐศาสตร์ในห้องแถวคืออะไรเพราะเห็นผมเรียนเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน...จนปัญญาจะอธิบายนะครับมาเปิดดูมีมาให้ติดตามอีกแล้วผมติดตามอ่านในdek_dแล้วอ่านเมื่อไรผมรู้สึกฉลาดขึ้นทุกทีครับ^-^รุ้สึกว่าเศรษฐศาสตร์นี่มันไม่มีที่สิ้นสุดนับวันจะเกิดกระแสใหม่ๆขึ้นเรื่อยๆ/ผมเองก็คงไม่มีอะไรคอมเม้นต์นอกจากคำว่าเยี่ยมมากครับ

Gelgloog said...

ขอบคุณมากครับน้อง fishy ที่แวะเข้ามา

แต่ไอ้เศรษฐศาสตร์ในห้องแถวนี่ยังไง พี่ก็งงนะน้องอาจจะหมายถึงวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เปิดสอนตามมหาวิทยาลัยห้องแถวล่ะมั๊ง (อันนี้คงต้องถามผู้รู้อีกที)

crazycloud said...

cheer up!ได้ความรู้เพิ่มขึ้น เพราะเคยได้ยินคำนี้มานานแต่ยังไม่เข้าใจถึงกรอบวิธีคิดของเศรษฐศาสตร์การเมืองมากนัก

มีคำถามว่า อย่างงานของ อ.รังสรรค์นี่ก็น่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง งานของ อ.สุวินัย หรือท่านอื่นๆที่อธิบายความเชื่อมโยงของระบบเศรษฐกิจโดยไม่ละเลยประวัติศาสตร์ ชนชั้นทางสังคม อย่างนี้ก็เป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง

เอาเข้าจริงผมในฐานะนักกฎหมายก็เคยอ่านเศรษฐศาสตร์การเมืองมาแล้ว แม้ว่าจะผิวๆเปลือกๆ และยังเป็นการอ่านแบบปลาไม่เห็นน้ำด้วยสิ ฮา ฮา

Gelgloog said...

คุณเมฆาคลั่ง

อย่างที่เขียนไว้ล่ะครับว่า มโนทัศน์ของ ศศ การเมืองเป็นอะไรที่กว้างขวางมาก ถึงแม้ผมกำลังเรียนในด้านนี้ก็ตามทีแต่ก็รู้เพียงแค่ติ่งๆ ของมันเท่านั้น รู้สำนักละนิด ช่างกระจิดริดเสียจริงๆ

แต่บอกได้คำเดียวว่า แต่ละสำนักมันก็มีกรอบคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งผมคิดว่าเรื่องคงต้องพูดกันยาวครับ

ส่วนงานของ อ.รังสรรค์ ก็สามารถจัดเป็นแนว ศศ การเมืองได้ครับ แต่อาจจะเป็น ศศ การเมืองที่มีกลิ่นอายความเป็นนิโอคลาสสิคอยู่บ้าง (จะเจอพวกคำว่า rational,maximization หรือ homoeconomicus แจมเป็นระยะๆ แต่ผมก็อ่านนานแล้วไม่แน่ใจกันเหมือนนะ) ส่วนงานของ อ.สุวินัย ก็เคยอ่านบ้างเหมือนกันครับ กลิ่นอายตะวันออกนี่ครุกกรุ่นอย่าบอกใคร (อย่าเอาอะไรกับผมมากเลยครับ จริงๆเป็นคนอ่านอะไรน้อยมาก อ่านแต่การ์ตูน 55)

แล้วไว้คุยกันใหม่นะท่าน

The Iconoclast's Journey said...

อาจารย์รังสรรค์น่าจะนิยมไปทางด้าน Public Choice รึเปล่า

Gelgloog said...

ถามผมหรือครับ??

อืม....ผมว่าคงได้รับอิทธิพลมาเยอะเลยหละครับ สำนัก public choice มันก็จะมีกลิ่นอายความเป็นนีโอคลาสสิคสูงนะครับ อารมณ์ประมาณว่าใช้กรอบคิดทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักไปไปวิเคราะห์พฤติกรรมทางการเมืองอะไร ต่างๆนานา โดยที่ยังไม่ลืมสมมติฐานหลักก็คือมองปัจเจกชนในระบบเป็น homoeconomicus หน้าก็ที่ก็คือทำการ optimization เพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์สูงสุด

ซึ่งพวก pucblic choice ก็จะแตกแขนงไปเช่นพวก constitutional economics จำพวกนี้แหละครับ ซึ่งตรงนี้ผมไม่ค่อย (หรือจะบอกว่าไม่เคย)ตามซักเท่าใดนัก

ตอนนี้สติไม่ค่อยสมประกอบนัก หากผิดพลาดตกหล่นอะไรก็ขออภัยด้วย

ราตรีสวัสดิ์

Anonymous said...

สวัดดีค่ะ

พอดีว่า มีอีกสถาบันนะค่ะ ที่เปิดสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่รามคำแหงค่ะ

ส่วนด้านบทความนี้ ขอเก็บเป็นความรู้นะค่ะ

ตอนนี้ เพิ่งมาเริ่มเรียนเลยยังไม่ค่อยรู้อะไรเท่าไร

ยังไงก็ขอบคุณที่เขียนบทความดีๆ แบบนี้นะค่ะ

Anonymous said...

ที่มหาวิทยาลัยพายัพก็เปิดสอนเศรษฐศาสตร์การเมืองด้วยน่ะคับ

Anonymous said...

hi!,I really liκe yοur ωriting νerу so much!

proportіon we keep uρ a correѕpondence more appгoximately your article on AOL?
I rеquіre an expert on this spaсe tо
solνе my problem. May be thаt is уou!
Lοοking fοrwаrd to pеer you.



Here is my page: ohms law

Anonymous said...

Plеaѕe let me κnоw if you're looking for a author for your weblog. You have some really great articles and I feel I would be a good asset. If you ever want to take some of the load off, I'd
absolutely love to writе some articles for yоur blog
in ехchange for a link back tο mine.
Please blast me an emaіl if interestеd. Many
thаnks!

Visit my ωеblοg; vaгistors ()

Unknown said...

กระทู้เขียนตั้งเเต่ 2005 เข้ามาอ่าน มค 2014 ตอนนี้เรียนปริญญาตรรัฐศาสตร์สาขาเศรษศาตร์การเมือง ที่บูรพา อ่าน บทความนี้เเล้ว ตอบคำถามที่มีในใจตัวเองได้อย่างกระจ่างเลยค่ะ ...

Unknown said...

สนใจจะลงเรียนเหมือนกัน ไว้ขอคำแนะนำด้วยนะคะ