Thursday, October 20, 2005
จากคอลัมน์ เหะหะ พาที ไปจนถึงทฤษฎีการบริโภคเชิงสัญญะ
พอดีได้อ่านคอลัมน์ “เหะหะพาที” ของคุณ “ซูม” ในหนังสือพิมไทยรัฐเมื่อวันอังคารที่ 18 ที่ผ่าน ซึ่งในคอลัมน์ได้บอกเล่าเก้าสิบว่า บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ แถลงยอดขายรถยนต์ของบริษัทตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม จนถึงเดือนกันยายน ปีนี้รวมแล้วประมาณ 5 แสนคันเศษ ซึ่งเพิ่มจากปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวถึง 15 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเพิ่มขึ้นของยอดจำหน่ายที่สวนกับกระแสปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันที่ถีบตัวขึ้นเพิ่มขึ้นสูงมาก
คุณซูมยังมองต่อไปอีกว่ารถยนต์นั้นเปรียบได้ดั่งปัจจัยที่ 5 ของคนไทย และยิ่งไปกว่านั้นรถยนต์สำหรับคนไทยยังถือได้ว่าเป็นเครื่องแสดง“ฐานะ”และบ่งบอก“ความมีระดับ”ของผู้เป็นเจ้าของอีกด้วย โดยที่คุณซูมได้อ้างถึงรายงานฉบับหนึ่งที่ได้มีการสำรวจซึ่งพบว่า บัณฑิตยุคใหม่อยากที่จะมีรถเป็นของตัวเองมากกว่าบ้านด้วยซ้ำ
ค่านิยมดังกล่าวร่วมด้วยกับการที่ระบบขนส่งสาธารณะบ้านเรายังเฮงซวยไม่มีเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้คนต่างพากันเสาะแสวงหารถยนต์เพื่อเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ
จากข้อเขียนของคุณซูมเราสามารถมองได้ว่าบางครั้ง(หรือหลายครั้ง)พฤติกรรมทางด้านเศรษฐกิจของคนเรามักจะไม่ได้แปรเปลี่ยนไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจเสมอไป ดังเช่นการบริโภครถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างสวนกระแสดังที่ได้กล่าวมา
เพราะสังคมเป็นสิ่งที่ซับซ้อน ในระบบสังคมยังมีเรื่องของปัจจัยทางด้านสถาบันที่เป็นนามธรรมต่างๆเช่น จารีต ค่านิยม แบบแผนทางสังคม ธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคม ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมของปัจเจกชนทั้งสิ้น และปัจจัยเหล่านี้มีความเป็นพลวัตร(dynamic) กล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่ได้คงที่แต่อย่างใด
ดังนั้นการวิเคราะห์ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มองพฤติกรรมการบริโภคของปัจเจกชนที่ตั้งอยู่บนหลักการของความมีเหตุมีผล(rational) และกำหนดให้ปัจจัยทางด้านสถาบันอื่นๆคงที่ดูท่าจะเป็นข้อสมมติที่ห่างไกลความเป็นจริงไม่น้อยเลยทีเดียว
ซึ่งถ้ามองในมุมของทฤษฎีการบริโภคเชิงสัญญะ(comsumption of sign)ที่ถูกนำเสนอโดย ฌอง โบดริยาร์ด (Jean Baudrillard) ซึ่งเป็นหนึ่งในนักคิดสกุลหลังสมัยใหม่(postmodern) อันเอกอุได้นำเสนอว่า การบริโภคสินค้าของเรานั้นตกอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์แห่งสัญลักษณ์ต่างๆ
เมื่อพิจารณาสินค้าหนึ่งๆจะพบว่า มันจะต้องประกอบไปด้วยคุณค่าแห่งการใช้สอย(use value) ซึ่งก็คือประโยชน์ของสิ้นค้านั้น และคุณค่าในการแลกเปลี่ยน (exchange value) ซึ่งก็คือมูลซื้อขายของสินค้านั้นๆในตลาดนั่นเอง
ซึ่งถ้ามองตามปกติสินค้าต่างๆน่าจะถูกประกอบด้วยมูลค่าทั้งสองแบบดังที่กล่าวมา แต่ทฤษฎีการบริโภคเชิงสัญญะนำเสนอต่อไปอีกว่า สินค้านอกจากมีคุณค่าทั้งสองอย่างแล้ว มันยังมีคุณค่าเชิงสัญญะ(sign value) อีกด้วย
นั่นหมายความว่านอกจากสินค้ามันมีจะประโยชน์ใช้สอยตามหน้าที่ของมันแล้ว มันยังสามารถที่จะสื่อ “สัญลักษณ์” อะไรบางอย่างได้อีกด้วย และการที่เราอยากจะครอบสินค้านั้นคงไม่ได้มาจากประโยชน์ใช้สอยของมันแต่เพียงประการเดียว หากมาจากการที่เราต้องการที่จะครอบครอง “สัญลักษณ์” ของตัวสิ้นค้านั้นๆ
ยกตัวอย่างง่ายๆดังเช่นรถยนต์ในกรณีที่คุณซูมยกมาเราจะพบว่าส่วนหนึ่งที่เราต้องการครอบครองมันก็เพราะว่ามันมีคุณค่าใช้สอยที่จะทำให้เราเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบาย แต่เมื่อมองลงไปจะพบว่าสัญญะที่รถยนต์สื่อออกมามันแสดงถึง “ฐานะ” ของผู้ที่ครอบครองได้อีกด้วย ดังนั้นการที่คนเราอยากได้รถยนต์ส่วนหนึ่งก็เพื่อต้องการที่จะ“สื่อ” ถึง “ฐานะ” ของตนให้ผู้อื่นได้รับรู้นั่นเอง
ที่ผ่านมาอาจจะยังไม่ชัด ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง…..
เช่นในกรณีของรถยนต์ออฟโรด(off road) ที่สื่อถึงความแข็งแกร่งสมบุกบัน สามารถขับขี่ได้ในที่ๆไม่ต้องมีถนนรองรับ จะเห็นได้ว่าบางคนใช้รถยนต์ประเภทนี้ก็เพื่อต้องการที่จะ “สื่อ” ว่ากูก็เป็นคนประเภท“ลุยๆ”นะ(ทั้งที่ในความเป็นจริงอาจจะไม่เคยเอารถออกไปลุยเลยก็ได้ ได้แต่ขับในเมืองไปทำงาน) นั่นแสดงว่าเขาใช้รถยนต์เป็นเครื่องบ่งบอกความเป็นตัวของตัวเองและสร้างอัตลักษณ์(indentity)ทำให้ตนเองไม่เหมือนคนอื่นโดยผ่านการบริโภคสินค้า
ไม่เพียงแต่รถยนต์เท่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่าสินค้าต่างๆที่พวกเราต่างใช้สอยกันก็ล้วนอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์แห่งสัญลักษณ์ทั้งสิ้น กล่าวคือสินค้าหนึ่งๆมันจะต้องเป็นตัวแทนของสัญญะอย่างใดอย่างหนึ่ง(หรือหลายอย่างก็ได้)
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการบริโภคของคนเรานั้นมีความซับซ้อนเหลือเกิน ซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป ดังนั้นการวิเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคของปัจเจกชนหรือสังคม ควรที่จะพิจารณาเรื่องราวดังกล่าวรวมเข้าไปด้วย
แม้ว่าการวิเคราะห์ในทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เน้นการประมาณแบบจำลองอุปสงค์ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีอรรถประโยชน์ จะทำให้ได้การวิเคราะห์ที่สามารถทำนายผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆในแบบจำลองได้อย่างมีนัยสำคัญ(ทางสถิติในแบบจำลอง) แต่ข้อเสียก็คือการวิเคราะห์แบบนั้นมันยังขาดความลุ่มลึกในการพิจารณาถึงพฤติกรรมการบริโภคที่แท้จริงในสังคมที่ยังมีความซับซ้อนรอให้ค้นหาความจริงอยู่
อย่าลืมว่าเศรษฐศาสตร์ก็เป็นสาขาหนึ่งในสังคมศาสตร์ ดังนั้นการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้เราไม่สามารถเข้าใจสังคมได้อย่างถ่องแท้ สิ่งที่จำเป็นควบคู่กันไปก็คือเศรษฐศาสตร์ควรจะต้องเป็นศาสตร์ที่อธิบายสังคมได้อย่างลุ่มลึกและรอบด้าน
สำหรับตัวผู้เขียนเองก็ไม่ได้หวังอะไรไปมากกว่าการที่แนวคิดทฤษฎีการบริโภคเชิงสัญญะที่ได้นำเสนอมาจะเป็นอีกหนึ่งในแนวคิดที่เข้าไปแต่งแต้มสีสันโลกแห่งเศรษฐศาสตร์ให้แลดูสวยงามน่ามองยิ่งขึ้น……..
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
18 comments:
อ่านแล้วมึนๆว่ะ ๕๕ สงสัยอยู่ในช่วงสอบ
อึมมมม มุมมองแบบ Postmodern น่าสนใจดีคับ
ผมเห็นด้วยกับพี่ที่ว่า
"การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในเชิงปริมาณอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เราเข้าใจสังคมได้อย่างถ่องแท้"
"เศรษฐศาสตร์ควรจะต้องเป็นศาสตร์ที่อธิบายสังคมได้อย่างลุ่มลึกและรอบด้าน"
2 ข้อความนี้เป็นความจริงที่ไม่ควรถูกละเลย จริงๆ
Post-modernism กับการตั้งคำถามต่อ ความคิดที่ตีกรอบเราไว้ เเต่เนื้อหายังเบาบาง อาจเเล้วไม่กระซวกอารมณ์เท่าไรเลยเพ่(ไม่ใช่ บ.บู๋ ลืมไป)555 ให้อารมณ์นึกถึงงานของ อ.วรากรณ์ สามโกเศศ ใช้ได้
อืม...
ขอบคุณที่มาช่วยวิจารณ์นะน้องนัท
แล้วพี่จะน้อมรับเอาไว้แล้วจะพยายามปรับปรุงต่อไปนะ
ป.ล.
จริงๆแนวคิดของโบดริยาร์ดยังมีอีกเยอะนะ ที่สำเสนอมายังเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นเอง ไว้ถ้ามีโอกาสจะพยายามนำมาเสนออีกละกันนะ(ถ้าสนใจกัน)
เรื่องเกี๋ยวกับสังคมอ่า
งง มึนตึ้บเลย
อ๊ากกกกกกกกกกกกส์
ไม่รู้จักสักแนวคิด แต่เข้าใจในความหมายที่จะสื่อ เหมือนเคย เคยได้คุยกันแล้ว
สำหรับ เนื่อหาอ่ะหนูไม่เข้าใจเลย แต่ก็เข้าใจไปเองว่าเศรษฐศ่าสตร์เป็นอะไรที่ commentนิดนึงนะคะว่าอ่านแล้วเนื่อหามันเข้าใจแค่คนที่เข้าถึงหลักสูตร ของคนที่จบมาหรือป่าวหรือว่า หนูเข้าใจไปเองเนี่ยชักมึน**นี่คือblog วิชาการ+555
อืม.....
เป็นข้อบกพร่องของผู้เขียนแต่เพียงประการเดียวครับต่อไปจะพยายามปรับปรุงและพัฒนาการเขียนทั้งในแง่ของเนื้อหาและวิธีการเขียนให้ดีขึ้นก็แล้วกันนะครับ ขออภัยด้วย
ขอบคุณที่ติดตามนะครับ
hello Nor.
I really don't have time to go through all the stories u wrote up here as my exam is comming soon. But i promise i'll be here after done with this shit period na ><~
takecare
ครบ 20 ment แล้วเลี้ยง ด้วยนะ
อ่านแล้วกระตุ้นรอยหยักดีครับ .... เหมือนได้ทบทวนความรู้สมัยเรียนปริญญาตรีเลย ... เขียนมาบ่อยๆ นะครับ
ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมครับ
จะรอค่ะ...เขียนมาบ่อยๆละกันค่ะพี่บอยสาระดี
อ่านแล้วรู้สึกว่าพี่มีความสามารถและเข้าใจเนื้อหาเศรษฐศาสตร์อย่างลึกซึ้งเลยน่ะเนี่ย ผมก็เด็กเสดคนนึงเหมือนกันแต่เพิ่งจะมาสนใจการเรียนและชอบเศรษฐศาสตร์ก็ใกล้จะจบป.ตรีเข้าไปแล้ว ตอนนี้ผมสมัคร เศรษฐศาสตร์ปริญญาโท ของจุฬาภาคปกน่ะครับ ไม่ทราบพี่นอร์ ป่ะครับ เรียนที่ไหนอยู่ครับ อยากทราบแนวข้อสอบคณิตศาสตร์และสถิติ แล้วเกณฑ์การพิจารณาในการรับเข้าศึกษาของคณะด้วยครับ เพราะผมเกรดไม่ดีเลยครับ ตอนนี้กำลังเรียนภาษาอังกฤษเตรียมสอบ CU-TEP อยู่ 480 คะแนนนี่เยอะไหมครับพี่กลัวไม่ถึงเกณฑ์ ยังไงรบกวนช่วยตอบหน่อยน่ะครับ ไว้จะแวะเข้ามาอ่านบ่อยๆน่ะครับ พี่มีเมลล์ไหมครับ watto_anuwat@yahoo.com รบกวนเมลล์ให้คำปรึกษาผมหน่อยน่ะครับ ผมรู้พี่ใจดี อิอิ
น้อง watto ครับ
พี่ไม่รู้จะทำเยี่ยงไรดี เมลหาน้องไม่ได้มัน failureอะ เลย copy ที่พี่เมลหาน้องมาไว้ในนี้ให้นะครับ
ที่พี่เมลไปหามีใจความดังนี้...
น้องเอ๋ย พี่ลงเมลเอาไว้ใน profile แล้วไม่เห็นรึ
ช่างมันละกัน แต่จะให้สะดวกพี่ว่าเราน่าจะไปสมัครเมลของhotmailเอาไว้นะ จะได้มี msn คงจะคุยสะดวกกว่านี้
ส่วนเรื่องแนวข้อสอบ อืม....มันก็มี ไมโคร แมคโคร นะ ส่วนเลขจะเป็นแนวๆ math econ นะน้องสถิติก็จะมี econometics ปนบ้างนะ แต่เท่าที่พี่จำได้นะ ตอนพี่สอบแม่งมั่วกระจายหวะ ทำแต่ไมโคร แมคโคร เลขกะสถิตินี่แทบหลับตากาเอาเลย เหอ เหอ
ถ้าน้องสนใจที่พี่เขียนล่ะก็ลองเลือกสาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองสิน้อง (ตอนนี้ต้องโปรโมทหน่อย หลักสูตรบอกว่าถ้าคนเรียนไม่ถึง 5 คนจะยุบสาขา แหะๆ)
น้องสนใจเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องทีดีครับ ขอให้น้องสอบติด
แล้วเจอกันที่จุฬาฯ
มีอะไรก็เมลมาหาได้ครับ ยินดีช่วยเหลือ(ถ้าพอมีกำลังช่วยนะ ไม่ใช่เมลมาขอยืมตังค์อะไรแบบนี้ไม่เอานะ 55)
เออ คือว่า
อยากให้ยกตัวอย่างอีกหน่อย
นะคับ
อาทิเอาเป็นโทรศัพท์
ว่าเป็นการบริโภคเชิงสัญญะเป็นอย่างไรคับ
(พอดีทำรายงาน)
hello Nor.
I really don't have time to go through all the stories u wrote up here as my exam is comming soon
Post a Comment