Monday, May 15, 2006

ทุนนิยมและการแข่งขัน : ข้อคิดจาก The Apprentice



ย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อน หนังสือ “The Great Transformation” ของ Karl Polanyi ได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรก โดยสาระสำคัญก็คือพูดถึงการอุบัติขึ้นของภาวะสมัยใหม่ (Modernity) ซึ่งสิ่งที่ Polanyi ได้นำเสนอคือ การที่ระบบตลาดได้สถาปนาตนเองไปทั่วทุกอณูของสังคม และแทนที่ตลาดจะเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ทางสังคม แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ความสัมพันธ์ทางสังคมกลับกลายไปเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกตลาดหรือระบบเศรษฐกิจดูดกลืนกินเข้าไป ทำให้ตลาดแนบแน่นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเราแนบแน่นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน (เหมือนผ้าอนามัยโลริเอะเลย ฮ่าๆ) แม้แต่ “คน” ที่มีชีวิตจิตใจ เมื่ออยู่ในตลาดก็กลับโดนปฏิบัติเฉกเช่นสินค้าทั่วไป พลังแรงงานไม่ได้มีค่าอะไรไปมากกว่าสินค้าที่แลกเปลี่ยนกันในตลาด

แต่เมื่อย้อนกลับมาดูสภาวะปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่แค่เพียงพลังแรงงานเท่านั้นที่ถูกทำให้เป็นสินค้าและแลกเปลี่ยนกันในตลาด แต่มันเกินเลยไปถึงการเอา “ชีวิต” และ “จิตใจ” มาผ่านกระบวนการทำให้กลายเป็นสินค้า ร่างเนื้อและจิตใจของมนุษย์ กลายเป็นหนึ่งในความบังเทิงรื่นเริงใจ ปิดบังซ่อนเร้นความสัมพันธ์เชิงขูดรีดที่ยังคงดำรงอยู่ของระบบทุน กลายเป็นกิจกรรมที่ดูเหมือนจะเป็นธรรมดาไป

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบรรดารายการ Reality Show ต่างๆ ที่พากันแห่ยกทัพดาหน้ามาให้เราได้รับชมกันนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นรายการยุคแรกๆอย่าง Survival หรือจะเป็นรายการ Big Brother ทาง UBC ที่คนกำลังติดกันงอมแงมขณะนี้ ซึ่งแต่ละรายการต่างก็มี concept ที่แตกต่างกันไป จับคนไปอยู่ป่าบ้าง จับมาหัดร้องรำทำเพลงบ้าง จับให้มาอยู่ด้วยกันแล้วมีโจทย์ให้ทดสอบบ้าง แต่สิ่งที่เป็นจุดร่วมเดียวกันคือรายการเหล่านี้ล้วนขาย “ชีวิต” และ “จิตใจ” มนุษย์ทั้งสิ้น แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะได้รับผลตอบแทนจากการเข้าร่วมเกมดังกล่าว ได้ตามล่าหาความฝันของตัวเองผ่านรายการนั้น ได้เข้าไปสู่วงการมายาที่เฝ้าใฝ่ถึง ได้รถ ได้เงิน ได้บ้าน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงได้ว่าสุดท้ายแล้วพวกเขาเหล่านั้นก็กลายเป็นหนึ่งในกระบวนการสะสมทุนอย่างหลีกเลี่ยงเสียไม่ได้

แน่นอนว่าบทบาทของรายการเหล่านั้นคงไม่ได้อยู่ที่การทำให้ “ชีวิต” และ “จิตใจ” กลายเป็นสินค้าเท่านั้น แต่มันรวมไปถึงการ “ผลิตซ้ำ” (reproduce) วัฒนธรรมและความคิดเชิงคุณค่าต่างๆให้กับสังคมด้วย เพื่อให้ระบบใหญ่ๆ ซึ่งก็คือระบบทุน สามารถดำรงตน และสถาปนาความชอบธรรมเอาไว้ได้

รายการหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ “The Apprentice” ของ Ronald Trump ผู้ที่เป็นอภิมหาเศรษฐีชั้นนำของอเมริกา รูปแบบของรายการนี้ก็คือจะเฟ้นหา candidate โดยจะมีการเปิดให้รับสมัครผู้คนจากทุกประเทศ ซึ่งแต่ละคนที่มาสมัครล้วนมีประสบการณ์ทำงานระดับเซียนทั้งนั้น บ้างเป็นเด็กวัยรุ่นเอ๊าะๆ จบจากมหาลัยวิทยาลัยชั้นนำ บ้างก็เป็นคนทำงานผู้มากประสบการณ์ ฯลฯ แต่ทางรายการก็จะคัดเลือกให้เหลือเพียง 18 คน และ 18 คนที่เหลือจะต้องแบ่งเป็นสองทีม เพื่อทำการแข่งขันโจทย์ทางธุรกิจต่างๆ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องลงมือปฏิบัติและทำกันจริงๆ หาใช่โจทย์ที่อยู่บนกระดานดำไม่

เมื่อการแข่งขันแต่ละโจทย์จบลง ทีมที่แพ้จะต้องทำการโหวตเพื่อนร่วมทีมออกหนึ่งคน ร่วมด้วยการตัดสินของ Trump และผู้ช่วยทั้งสองของเขา สุดท้ายผู้ที่ถูกโหวตให้ออกก็จะโดน Trump “ไล่ออก” จากการเป็น Apprentice ไป

การแข่งขันจะดำเนินด้วยโจทย์ธุรกิจต่างๆไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายแล้วจะเหลือผู้แข่งขันที่ชนะเพียงคนเดียวบนเศษซากของคนที่ถูกไล่ออกไป และเขาคนนั้นก็จะถูก Trump จ้างเข้ามาทำงานในองค์กรด้วยค่าจ้างระดับเลขหกหลัก พร้อมได้รับการนับหน้าถือตาจากวงสังคม

ถ้าจะแปลไปแล้ว คำว่า Apprentice ก็หมายความว่า “เด็กฝึกงาน” แต่จะเห็นได้ว่า การฝึกงานในเกมนี้มันไม่ธรรมดา ถ้าเด็กฝึกงานที่เราพบเห็นตามองค์กรทั่วไปก็คงจะทำหน้าที่เกี่ยวกับเอกสาร งานธุรการต่างๆเพื่อนเรียนรู้ระบบองค์กร แต่การฝึกงานของ Trump มันไม่ใช่แค่นั้น มันเป็นการเคี่ยวกรำผู้เข้าแข่งขันอย่างแท้จริง จับคนจากต่างทิศต่างถิ่น ต่างพื้นเพ ต่างบุคลิกลักษณะ ต่างนิสัยใจคอมารวมกันเป็นทีม ซึ่งในทีมเองก็ต้องมีความร่วมมือกันในขณะเดียวกันแต่ละคนในทีมก็ต้องแข่งกันเองเพื่อแสดง performance ที่โดดเด่นให้เข้าตา Trump อีกด้วย ไหนจะต้องแข่งกันในทีมอีก ไหนจะต้องแข่งกับทีมตรงข้ามอีก และไหนจะแข่งกับตัวเองอีก ฟังดูแล้วมันดูเป็นการแข่งขันที่รุนแรงเหลือเกิน

ตัวผู้เขียนเองก็ไม่ค่อยได้ติดตามรายการนี้ซักเท่าไรนัก กล่าวคือไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตารอว่ารายการนี้จะมาช่องไหน วันไหน เวลาไหน ส่วนมากจะเป็นการรับชมตามอัตภาพมากกว่า ถ้าเปิดไปแล้วบังเอิญ ก็อดใจไม่ไหวที่จะดูเหมือนกัน

นั่นก็เพราะว่าลักษณะอันสำคัญของรายการประเภท Reality Show ก็คือการที่รายการนั้นเล่นกับ “จิตใจ” ของคน ทั้งจิตใจของผู้เล่นในจอและนอกจอ ผู้เล่นในจอต้องผ่านการเคี่ยวกรำสารพัด เผชิญอุปสรรค ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง โดยอีตา Trump ไซโคซะจนหมด self บ้าง สิ่งเหล่านี้เล่นเอาคนที่อยู่นอกจอถูกดูดเข้าไปอยู่ในจอโดยไม่รู้ตัว และเกิดอาการ “อิน” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขอกลับมาสู่ประเด็นหลังจากที่กล่าวอารัมภบทเกี่ยวกับเกมมาเสียเยิ่นยาวจนเกือบจะหลุดออกทะเล ดังที่ได้เกริ่นไว้ว่าหน้าที่หนึ่งอันสำคัญของเกมดังกล่าวก็คือการ “ผลิตซ้ำ” แนวคิดเชิงคุณค่าต่างๆให้กับสังคมด้วย ดังที่รายการ Apprentice แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องของ “การแข่งขัน”ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเหตุการณ์ณ์ปกติในโลกทุนนิยม

สำหรับผู้เขียนเองไม่ได้ปฎิเสธเรื่องของการแข่งขัน แถมยังมองว่าการแข่งขันเป็นหนึ่งในธรรมชาติของมนษย์ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามการแข่งขันคงไม่ได้เป็นธรรมชาติอย่างเดียวของคนเรา หากแต่ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆด้วย

แต่ในโลกทุนนิยมดูเหมือนว่ามิติด้านการแข่งขันของมนุษย์มันจะถูกดึงออกมาอย่างชัดเจนเสียเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายการ The Apprentice ที่ทุกคนต่างแข่งขันกันเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย ต่างคนต่างต้องทำให้ดีที่สุด แน่นอนในทีมย่อมต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน หากแต่เป็นการพึ่งพาอาศัยโดยตั้งอยู่บนผลประโยชน์เป็นหลักโดยที่เบื้องหลังการพึ่งพาดังกล่าวนั้นไร้เสถียรภาพยิ่ง เพราะจะเสี่ยงต่อการถูกหักหลังตลอดเวลา

หลายคนอาจจะมองว่านี่มันก็เป็นแค่เกมเท่านั้น แต่สำหรับผู้เขียนกลับมองว่า มันเป็นเกมที่ไม่ใช่เกมธรรมดา หากแต่มันสะท้อนภาพของความยุ่งเหยิงภายในระบบทุนได้เป็นอย่างดี เป็นระบบที่มีผู้แพ้ ผู้ชนะ แน่นอนว่าทุกคนไม่ใช่ผู้ชนะ และบางครั้งผู้ที่ชนะก็ใช้วิธีการที่ไม่สมควร

ดังตอนล่าสุดที่ผู้เขียนได้ชมรายการนี้ พบเห็นพฤติกรรมอันไม่เป็นมืออาชีพของผู้เข้าแข่งขันกันขึ้น กล่าวคือ ทีมแรกได้ทำการสั่งโทรโข่งเอาไว้ก่อนแล้วจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ในการประชาสัมพันธ์ตัวสินค้า แต่โดนอีกทีมหนึ่งตัดหน้าเอาไปโดยสวมรอยเป็นทีมแรก ทำให้ทีมแรกต้องทำงานโดยปราศจากเครื่องมือดังกล่าว และสุดท้ายก็พ่ายแพ้ไป

แน่นอนว่าการที่ทีมแรกแพ้นั้นไม่ได้มาจากปัจจัยที่โดนโกงหน้าด้านๆแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่มีเรื่องอื่นๆ ด้วย แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว การกระทำดังกล่าวของอีกทีมถือว่าเป็นอะไรที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพอย่างยิ่งยวด

สำหรับผู้เขียนแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะถูกยกมาเป็นประเด็น แต่สำหรับ Trump แล้ว เมื่อฟังเหตุผลในเรื่องนี้จากทีมที่แพ้ได้แต่พูดออกมาสั้นๆว่า “ผมชอบนะ” กล่าวคือชอบทีมที่ทำการโกงแบบหน้าด้านๆนั่นแหละ ฟังไปแล้วก็ได้แต่คิดว่า เอ้อ.....มันอะไรของมันวะเนี่ย

ซึ่งตรงนี้เอง ทำให้เราได้เห็นภาพของการแข่งขันอย่างชัดเจนเลยที่ว่า คนชนะกลับกลายเป็นผู้ชอบธรรม คนแพ้ไร้สิทธิ์ในการอุธรณ์ใดๆ ช่างเป็นภาพที่น่าสมเพชยิ่งนัก.........

มันคงจะเกินไปที่เราจะพิพากษารายการดังกล่าวว่าเป็นตัวสร้างค่านิยมที่ไม่ดี แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า มันก็เป็นภาพๆหนึ่งที่ย้ำให้เรามองเรื่องของการแข่งขันเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้เกิดความคิดที่ว่า สังคมที่เป็นจริงมันก็แบบนี้ คนชนะก็ได้ คนแพ้ไม่ได้อะไร แนวคิดดังกล่าวได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมในระบบทุนนิยม ก็คือ จะรอดได้ก็ต้องแข่งขัน แข่งขัน และแข่งขัน ซึ่งบางครั้งวิธีการที่ได้มาซึ่งชัยชนะมันไม่น่าพิศมัยเอาเสียเหลือเลย แต่มันก็ถูกทำให้กลายเป็นของธรรมดาไปเสียสิ้น

สำหรับตัวผู้เขียนคิดว่าภาพดังกล่าวยังเป็นเครื่องสะท้อนถึงสังคมอเมริกันได้ดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการแข่งขันในเกมธุรกิจที่เล่นกันอย่างถึงพริกถึงขิง และเชื่อเลยว่า ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ที่การไหลบ่าของทุนเป็นอย่างทะลักล้น การส่งผ่านวาทกรรมของการพัฒนากระแสหลักภายใต้ระบบทุนเป็นไปอย่างไร้พรหมแดน ดังนั้นแล้วการที่เราจะเห็นภาพดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ที่แห่งอื่นมันก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด

วัตถุประสงค์หลักของผู้เขียนคงไม่ได้อยู่ที่การจู่โจมรายการดังกล่าว หรือนั่งก่นด่าว่าระบบทุนหรือการแข่งขันมันไม่ดีแบบโน้น ไม่ดีแบบนี้ หากแต่อยู่ที่ว่าสังคมที่เป็นอยู่ที่ถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยมนั้นมันไม่ได้สวยหรูไปเสียทั้งหมด

สุดท้ายแล้วเราก็เป็นดั่งหนูติดจั่น ที่วิ่งอยู่บนวังวนของทุนอย่างไร้จุดจบ แม้แต่ “ชีวิต” และ “จิตใจ” ของเราก็กลับกลายเป็นสินค้าได้อย่างหน้าตาเฉย และเชื่อเลยว่าใครหลายๆคนก็ไม่ได้รู้เนื้อรู้ตัว ว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสะสมทุนไปเสียสิ้น

อะไรๆ ที่เป็นสินค้าได้ก็คงไม่รอดพ้นสายตาของทุนอย่างแน่นอน หน้าที่ของมนุษย์อย่างเราก็คงได้แต่ก้มหน้าแข่งขันกันเองอย่างเมามันส์ บนเศษซากของผู้แพ้อันกองเพนินสุมหัวเราอยู่ โดยที่ทุนมันมีแต่จะใหญ่โตลุกลามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และแน่นอนว่ามันคงไมได้มารู้สึกรู้สาอะไรกับเราด้วย

แต่จงอย่าลืมว่าทุนมันไม่ใช่สิ่งมีชีวิต มันจะไร้จิตใจก็ไม่แปลก หน้าที่ของมันก็คือการสะสม สะสม สะสม เพิ่มพูน เพิ่มพูน เพิ่มพูน ก็เท่านั้น!!!

ป.ล.

บทความนี้ผู้เขียนได้ดองเค็มพอสมควรเขียนวันละประโยคสองประโยคกว่าจะเสร็จ ป่านนี้รายการ The Apprentice อาจจะได้ตัวผู้ชนะไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนผู้ที่สนใจรายการดังกล่าวคลิกที่นี่เลยครับ มีรายละเอียดพอสังเขปให้ได้อ่านกัน

23 comments:

Anonymous said...

มาเจิมด้วยได้ ...มาอัพซะทีนะ
ไม่ได้อ่านอะไรแบบนี้นานมากเหมือนกัน
ก็อ่านไปแต่หนูno commentเหมือนเดิม ดีเหมือนกัน..ก็ไม่มีท่าทีว่าจะเลิกชอบreality น่ะนะ

Gelgloog said...

อย่าว่าแต่เราเลย

ไอ้พี่เองก็นะ

อะ ค๊า เดมี่ แฟนเท้เชียยยยยยยยยยยยย

ติดตามใช่ย่อยอยู่ 5555

crazycloud said...

I agree with u.

Anonymous said...

ยาวดี

แต่ก็เหนด้วยเหมือนกานนะ

อิอิ

Gelgloog said...

เบิกบานบุรุษ เห็นด้วย

น้องอู เห็นด้วย

สองคน ใจตรงกันเลยนะนั่น อิอิ

Anonymous said...

อ่านแล้วเห็นภาพการแข่งขันในโลกปัจจุบันดีพี่

สิ่งหนึ่งที่เข้าใจและยอมรับ คือ เอาใกล้ตัว กทม. ก็เป็นการแข่งขันไปซะหมด เพิ่งไปอ่านหนังสือเจอประโยคๆหนึ่งบอกว่า เดี๋ยวนี้
"คนเป็นพ่อแม่ สอนให้ลูกเป็นคนเก่ง มากกว่าเป็นคนดี"
มันสะท้อนได้หลายอย่างมาก คือ การแข่งขัน มันเริ่มถูกปลูกฝัง มาตั้งแต่เราเป็นเด็ก เราจะได้ยินว่าเรียนใหดีนะ จะได้ไปสู้คนอื่นได้ เพราะพ่อแม่กลัวเราจะเหนื่อยหรือลำบาก
แต่ถ้าใครยึดที่จะเป็นคนดี บนโลก(เช่นใน กรุงเทพนี่แหละ)ที่นับวันจะย่งเหยิง แข่งขันกันมากกกก เหลือเกิน ผมก็เคยคิดว่าคนเหล่านั้นก็มีจำนวนมาก แต่ยิ่งโตๆๆ ไปสู้สังคมที่กว้างขึ้น เช่นในการทำงาน ดังในเกมส์ที่พี่ว่า เลือกที่จะทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง ไม่โกง ไม่ชิงดีชิงเด่น คนเหล่านี้จะสู้ไหว หรือจะถูกกลืนไป (อาจจะเป็นการตั้งข้อสังเกตที่มองในแง่ร้ายซะหน่อย)
คำตอบผมก็อยากรู้เหมือนกันว่า ผมจะโดนกลืนไปไหมเมื่อโตขึ้น


ปล.1 ช่วยขยายความของคำว่า "สะสมทุน" ทีเพราะเข้าใจว่ายังเข้าใจไม่ถึงแก่น(เข้าใจว่ามาจาก MARX)และ คิดว่า สะสมทุน คงไม่ใช่แค่ "ตัวเงิน"

ปล.2 ผมเคยตั้งคำถาม ถามนักบวชศาสนาคริสต์ ถามว่า ทำไมพระเจ้า ไม่สร้างให้คนให้เท่าเทียมกัน เช่นทางด้าน ฐานะ หรือ ทำไมตอ้งให้บางคนเกิดมาโชคร้ายพิการ แขนด้วน จะได้ไม่เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ทั้ง อาชญากรรม การดูถูก ฯลฯ

คำตอบที่ได้ก็คือ ถ้าทุกคนเหมือนกันหมด คุณก็จะไม่"เรียนรู้"กัน ต่างคนจะต่างอยู่ และจะไม่รู้จัก ที่จะ "ให้"
เพราะฉะนั้น เรามา "เรียนรู้ที่จะให้" เถอะครับ

คำคมประจำวัน "เพรามือของผู้ที่ให้ ย่อมสูงกว่ามือผู้ทีรับเสมอ"

Gelgloog said...

เอาล่ะ มาขอตอบน้องคัสเสียหน่อย

จะพยายามตอบเท่าที่สติปัญญาจะอำนวยนะ อิอิ

ขอเริ่มด้วยคำถามที่ว่า "เงินคืออะไร?"

พอได้คำถามปุ๊บลองไปเปิดตำรา ศศ การเงินดู เราจะพบว่า...."เงินคือสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ฯลฯ"

นี่คือความเข้าใจโดยทั่วไปของคนส่วนใหญ่ที่มีต่อระบบทุน ก็คือ เงินเอาไว้ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เป็นตัวล่อลื่นระบบเศรษฐกิจ

ซึ่งจะแสดงเป็นวงจรแบบ very simple ก็คือ

C-M-C : โดย C แทนสินค้า และ M แทนเงิน จากสัญลักษณ์ จะเห็นได้ว่า จริงๆแล้วเราน่ะใช้สินค้าแลกสินค้า ไอ้เงินน่ะเป็นตัวกลางมาช่วยเรา

แต่เมื่อลองพิจารณาดีดี ระบบทุนในทรรศนะของมาร์กซนั้น มันไม่งดงามแบบนั้นร๊อก สำหรับมาร์กซแล้วกลับมองว่าในระบบทุนนั้น เงินไม่ได้เป็นตัวกลางหรอก แต่สินค้านั่นแหละ เป็นตัวกลางเอาไว้สะสมเงิน ก็คือ

M-C-M'

where M' > M

แสดงให้เห็นว่า นายทุนใช้สินค้าเป็นสื่อกลางในการแลกเงินให้มากกว่าเดิม โดยการที่จะได้เงินมากกว่าเดิมนั้นต้องผ่านกระบวนการ "ขูดรีด" แรงงานอีก (labour exploitation) แน่นอนว่าวงจรระบบทุนจะกลายเป็น M'...M''...M'''.... ร่ำไป

นี่แหละไอ้ที่เค้าเรียกว่าการสะสมทุน หรือภาษาสวยงามของ mainsteam เรียกว่า economic growth แต่แท้จริงแล้วมันก็คือการเอาสินค้าไปแลกเงิน บังหน้าด้วยการขูดรีดแรงงานภายใต้ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุน


สุดท้ายขอขอบคุณสำหรับคำคม งดงามมาก

Anonymous said...

เอ่อ ขยายสักหน่อยที่มาเขียนบ่นๆๆ นะไม่มีอะไร

แค่ตั้งใจจะสื่อ ว่าไม่ว่าเราจะอยู่ในประเทศอะไร สังคมอะไร หรือ ระบบปกครองอย่างไร ไม่ว่า ทุนนิยม หรือ สังคมนิยม

ถ้าเรามีจิตสำนึกต่อส่วนรวมมันก็คงดี เพราะสุดท้ายเราแข่งกัน แต่จบเกมส์ เราก็เป็นเพื่อน พี่นอ้งต่อกัน

เราก็ไม่ต้องมีทฤษฎีอะไรมากมาย มาอธิบาย หรือผมอาจจะคิดผิดก็ได้นะ 555

Anonymous said...

อ่านแล้ว รู้สึกว่า ระบบทุนนิยม ไม่เคยหยุดนิ่งเลย (มีการพัฒนา อยู่อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด)

ซึ่ง มันก็เป็นเรื่องดีนะ แต่ควรเอาใจใส่สังคมด้วยก็จะดีมาก (เช่น การไม่เห็นแก่ตัว การไม่เอารัดเอาเปรียบ การเอื้อเฟือเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจกัน ฯลฯ)

แล้วที่เป็นอยู่ล่ะ มันดีแล้วหรือยังนะ?

Gelgloog said...

หนูนา เข้าใจถูกต้องแล้วครับ

ระบบทุนเป็นอะไรมีพลวัตรมาก อีกทั้งมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการสะสมทุนให้สอดคล้องกับสภาวะวิกฤตที่เผชิญได้

อีกประเด็นหนึ่งที่หนูนาเสนอมาก็คือเรื่องของ "ทุนทางสังคม" สิ่งที่ไม่ควรถูกละเลยครับ เป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุนเต็มที่

Anonymous said...

ระหว่างรายการ The stars, BB ,AF ,survival mr.gelgloog คิดว่าจะมีคนใดที่ชอบเพียงบางรายการในนี้บ้างหรือไม่ เช่น ชอบ BB และ AF มาก แต่เกลียด The stars (น่าแปลกที่ผมพบบุคคลประเภทนั้น รายการมีจุดประสงค์เดียวกันคือ ประกวดร้องเพลง แต่คนกลับชอบรายการหนึ่งแต่ไม่ชอบในอีกรายการหนึ่ง)ทั้งๆที่ ทุกรายการล้วนเน้นถึงกิจกรรมมนุษย์ เหมือนกันทั้งหมด ต่างกันเพียงรูปแบบในการนำเสนอ
คำถาม : mr.gelgloog คิดว่ามีเหตุผลใดหรือไม่ที่สร้างความแตกต่างนี้

Gelgloog said...

เป็นคำถามที่โคตรน่าสนใจ

มึงคิดเหมือนกูเลย ทุกรายการอารมณ์มันล้วนขายชีวิตและจิตใจ ของผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น

แต่ในแง่ production แล้ว แต่ละรายการก็มี concept ที่แตกต่างกัน

เห็นหลายๆคนเหมือนกันที่ชอบ AF แต่ไม่ชอบ The Stars เหตุผลหนึ่งที่เคยได้ยินอาจจะเป็นอารมณ์ประมาณว่า The Stars เป็นพวก reality โชว์ตามฟรีทีวีเลยกลายเป็นคนละระดับกับ AF

แต่ก็เป็นเพียงเหตุผลหนึ่งที่ได้ยินผ่านหูมา จริงๆอาจจะมีอะไรตื้นลึกหนาบางมากไปกว่านี้ก็ได้

สำหรับคำถามที่มึงทิ้งเอาไว้ก็น่าสนใจมาก ไม่รู้ว่ามึงมีคำตอบอยู่ในใจรึป่าว และไม่รู้ว่าที่กูกำลังจะตอบไปจะไปโดนคำตอบในใจมึงหรือไม่ แต่ กูก็อยากจะเสนอในมุมมองของกูนะ

สำหรับกูแล้วสังคมทุนนิยมมันเป็นอะไรที่ขับเคลื่อนด้วยแรงบริโภคหวะ หน้าที่หนึ่งของคนผลิตก็คือ แม่งต้องหาเหี้ยอะไรมาปลุกปลั่นกระตุ่นต่อมอยาก ต่อมตื่นตาตื่นใจคนให้ได้ หากทุกรายการอารมณ์เหมือน survival หมด ไม่แคล้ว คนก็คงเบื่อเข้าซักวัน

ถ้าอธิบายแบบไมโครหน่อยก็เหมือนกับทำ product differentiate หวะ เอาให้ต่างเข้าไว้ ทั้งๆที่สินค้าแม่งก็ category เดียวกันแหละ แต่เอาให้ดูต่างไว้ก่อน ดูแหวกไว้ก่อน

ในเชิงการตลาดแล้ววิธีคิดแบบนี้เป็นอะไรที่สมเหตุสมผลแน่นอน แต่ถ้าจะลองมองในแง่ร้ายซักหน่อย มันก็ไม่ต่างอะไรกับการที่เราทำธุระหนักเสร็จแล้ว ใช้กระดาษบ้าง ใช้น้ำเพื่อชำระบ้าง แม้วิธีแตกต่าง แต่ผลลัพธ์มีอย่างเดียวคือ คนที่เข้าไปอยู่ในวังวน วังเวียนก็ถูกใช้แล้วทิ้งลูกเดียว น่าสงสารดีแท้ ลงชักโครกแล้วก็จบกัน หมดอันนี้เด๋วไปหารุ่นต่อไปมาปั่นอารมณ์คนต่ออีกดีกว่า

อนิจจาโลกทุนนิยม.....

ป.ล.

AF3 ใกล้จะมาแล้วนะมึง 555555

Anonymous said...

http://www.gametheory.net/popular/television.html

ณัฐ

Udomdog said...

สุดท้ายแล้วเจ้าของประเทศที่ชอบประกาศปาวๆ ว่าการทำธุรกิจต้องมี "ธรรมาภิบาล" ... แต่การปฏิบัติจริงๆ นั้นกลับไม่ตรงกับที่ตัวเองประกาศไว้เลย ... ผมว่ามันน่าจะเป็นเทรนด์นี้แน่ๆ อ่ะ ขอให้ชนะไว้ก่อน จะโกงไม่โกงก็มะเป็นไร (ฮ่วย)

Gelgloog said...

คุณ epsie ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมกัน หวังว่าคงสบายดี

ไอ้ณัฐ เวบมึงกูเข้าไปแล้วนะ น่าสนใจดีเหมือนกันหวะ

ส่วนคุณ udomdog ครับ ผมว่า ธรรมาภิบาล มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าหากมันเป็นแค่คำๆหนึ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขอ ฮ่วย ด้วยคน 55

Udomdog said...

อ่านความเห็นท่านอื่นๆ แล้วชักคัน ขอร่วมแจมอีกซัก 1 ความเห็นละกันนะ

เมื่อพูดถึงคำว่า "ทุน" แล้ว นอกจาก "ทุน" ที่หมายถึงเงินแล้ว "ทุน" นอกจากนี้ปัจจุบันยังคงมีอยู่ "ทุนทางสังคม" ในอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเป็นลูกนายกฯ, การมีพวกพ้องในแวดวงธุรกิจ, เด็กเส้น ฯลฯ ยิ่งใครมีทุนแบบนี้ในสังคมเศรษฐกิจของประเทศเรามากๆ นี่ได้เปรียบสุดยอดไปเลยล่ะคร้าบ อิอิ

ส่วนเรื่องคนที่ชอบ AF แต่กลับไม่ชอบ The Stars เนี่ย ด้วยความรู้สึกผมเอง ก็ไม่ชอบ The Stars เหมือนกัน แต่เหตุผลที่ผมไม่ชอบม่างก็เพราะ ผมคิดว่า The Stars ก๊อปปี้การดำเนินรายการแบบ AF มาทั้งดุ้นเลย ไม่ว่าจะเรื่องการปรับปรุงความโหดของกรรมการ ให้ดูนุ่มๆ ขึ้น หรือว่าการโหวตด้วย SMS จากทางบ้าน ม่างก๊อปปี้แบบเม็ดต่อเม็ดเลย

Gelgloog said...

ประเด็นที่คุณ udomdog ตั้งไว้น่าสนใจทีเดียว

ทุน นอกจากจะหมายถึงทุนที่เป็นตัวเงินแล้ว มันก็ยังมีอีกหลากหลายรูปแบบดังที่คุณได้แจกแจงมา

แต่สุดท้ายแล้ว ผมอยากให้ลองพิจารณา "ทุน" ในฐานะที่มันเป็น "ความสัมพันธ์" ทางการผลิต เป็นความสัมพันธ์เชิงขูดรีดชุดหนึ่ง อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูงอีกตะหาก

เห็นมีข่าวแว่วๆมาว่า AF จะไปอยู่ช่อง 9 อันนี้ผมไม่ทราบตื้นลึกหนาบางแฮะ ใครทราบช่วยบอกที

Anonymous said...

ใช่ครับ สำหรับผม นี่ชั้นวางการ์ตูน ยังมี การประกวด เซอร์ไววอลเลย
นั่นคือ ถ้าเรื่องไหนเบื่อ จบห่วย ไม่ควรค่าเเก่การสะสม ผมก็จะขายทิ้งครับ ชั้นวางมีจำกัด ขายเรื่องเก่า ซื้อเรื่องใหม่ ช่วยตั้งชื่อ เกมหน่อยสิ
ป.ล. จิงๆ ไม่มีตังต่างหาก เเบบ สุดๆจิงๆ55

Anonymous said...

Nice idea with this site its better than most of the rubbish I come across.
»

Anonymous said...

I'm impressed with your site, very nice graphics!
»

Anonymous said...

Keep up the good work http://www.racing-heartbeat-lexapro.info/Lexapromixedwithalcohol.html oldsmobile dampner buscar lexapro Cell check credit phone plan without

Anonymous said...

best regards, nice info Fragrance reed diffuser cap General dentist summerlin penis accutane package insert winsor pilates savaria wheelchair lift Medical malpractice attorney memphis http://www.stationery-3.info diet bontril Wilton ice cream makers web site Spread shaved pussy Wbr side effects of zocor

Anonymous said...

ขอบคุณมาก ๆ นะครับ